เมื่อกล่าวถึงราคายาง ย่อมมองไปถึงประเภทยางแต่ละชนิดที่หลายฝ่ายนิยมผลิตไปขายกัน แต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น
1.น้ำยางสด
2.ยางก้อนถ้วย เศษยาง ขี้ยาง
3.ยางเครพ ยางเครพรมควัน
4.ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน
5.ยางแท่ง
6.น้ำยางข้น60%
มุมมองการทำการตลาดในวงการยางพารา สามารถแบ่งออกในการทำตลาดหลายช่องทาง กล่าวคือ
1.น้ำยางสด ได้จากชาวสวนยาง เจ้าของสวนยางโดยตรง เป็นขั้นตอนแรกและเบื้องต้นในการจัดจำหน่าย ตลาดที่รับซื้อ ได้แก่ เจ้าของสวนยางเอง(ผลิตยางแผ่นดิบเองเพื่อรอส่งตลาดอื่นต่อ) พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์ชุมชน โรงงานผลิตน้ำยางข้น โรงงานแปรรูปน้ำยางสด
2.ยางก้อนถ้วย เศษยาง ขี้ยาง ได้จากชาวสวนยางผลิตเป็นยางมีด หรือที่นิยมเรียกกันทั่วๆไป คือยางก้อนถ้วย ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ เจ้าของสวนยางเอง(ผลิตเป็นยางแผ่นเครพเบื้องต้นเพื่อรอส่งตลาดอื่นต่อ) พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์ชุมชน โรงงานยางแท่ง โรงงานผลิตยางล้อรถ
3.ยางเครพ ยางเครพรมควัน ได้จากชาวสวนยางที่แปรรูปเอง หรือผู้ผลิตยางเครพเบื้องต้น ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ โรงงานผลิตยางเครพ โรงอบรมควัน พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์ โรงงานยางแท่ง โรงงานผลิตยางล้อรถ โรงงานผลิตพื้นรองเท้า โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง
4.ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ได้จากชาวสวนยางโดยตรง ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ พ่อค้าคนกลาง สหกรณ์ชุมชน โรงงานอัดยางลูกขุน โรงงานผลิตยางล้อรถ
5.ยางแท่ง ได้จากโรงงานแปรรูปยางแท่ง หรือ STR ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ บริษัทเอเจนซี่เทรดดิ้ง โรงงานผลิตยางล้อรถภายในประเทศ ตลาดส่งออกไปต่างประเทศทั่วโลก
6.น้ำยางข้น60% ได้จากโรงงานผลิตน้ำยางข้นเท่านั้น ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ บริษัทเอเจนซี่เทรดดิ้ง โรงงานแปรรูปเครื่องทางการแพทย์ โรงงานผลิตถุงมือยาง,ถุงยางอนามัย ส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลกที่จำเป็นใช้วัตถุดิบชนิดนี้
จากการจำแนกประเภทยางและตลาดส่งขาย มีทั้งเหมือนกันมีทั้งเกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกันในวัตถุดิบแต่ละชนิด ก่อนจะเกิดวัตถุดิบประเภทต่างๆเกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยพึ่งพาชาวสวนยางแทบทั้งสิ้น พูดง่ายๆก็ คือ ต้องอาศัยชาวสวนยาง 100% นั่นเอง
เมื่อจำเป็นต้องนำวัตถุดิบมาจากต้นยางพารากับชาวสวนยางพารา 100% แบบนี้จะแก้ไขราคายางที่ตกต่ำได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นคำถามที่ตอบยากเช่นเคย เพราะชาวสวนยางไม่มีทางเลือกของตัวเองมากพอรวมไปถึง ไม่สามารถเข้าถึงตลาดปลายทางได้เอง จึงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของชาวสวนยาง สวนยางไหนสามารถไปถึงได้ถือว่าคุณโชคดีแล้ว ผลกระทบต่อราคายางที่ตกต่ำก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผู่้ที่มีตลาดถึงปลายแล้ว แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงชาวสวนยางส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถคุมเกมส์ราคายางที่ตกต่ำเองได้ เจอทั้งพ่อค้าคนกลาง โรงงานผลิตยางแท่ง กดคุณภาพยางให้ต่ำลง เพื่อผลกำไรของตัวเองทั้งสิ้น ซึ่งไม่ผิดเพราะการทำธุรกิจย่อมมีผลประโยชน์เกิดขึ้นเสมอจะมากจะน้อยก็อยู่ที่แต่ละคนทำ
เมื่อช่องทางการจัดจำหน่ายของยางพารามีรูปแบบการส่งขายของตลาดแบบเดิมๆ ซ้ำๆทำให้ช่องว่างระหว่างเจ้าของสวนยางกับตลาดรับซื้อผลิตแปรรูปยิ่งห่างไกลกันออกไป ในที่นี้ผมหมายถึง สวนยาง--------->โรงงานผลิตยางล้อรถ โดยมีโรงงานยางแท่งเป็นผู้ทำส่งผ่านมือไปให้ปลายทางโรงงานผลิตยางล้อรถ โดยอิงราคาตามตลาดโลกเป็นหลัก ฉนั้นการจะทำให้ราคายางสูงขึ้นได้อยู่ในมือโรงงานยางแท่งนั่นเอง (ในระดับราคาตลาดกลางภายในประเทศ) แต่ ณ ปัจจุบันแย่ยิ่งกว่าที่กล่าวมาคือ ชาวสวนยางจะต้องผ่านมือพ่อคนคนกลาง หรือเทรดเดอร์เสียก่อน ถึงจะไปถึงโรงงานผลิตยางแท่ง ทำให้การกดราคา การบวกกำไรกันเป็นทอดๆ เลยทำให้ราคาที่ตกต่ำสุดไปอยู่กับชาวสวนยางนั่นเอง เจ้าของสวนยางมีผลกระทบต่อราคายางที่ตกต่ำ 100% เต็ม ส่วนเทรดเดอร์ทั้งหลายความเสี่ยงที่น้อยกว่า จะเสี่ยงแค่การเกร็งกำไรผิดพลาดเอง หรือการรับซื้อที่ได้ยางไม่มาตรฐานโดนยัดไส้มา ต่างฝ่ายก็พยายามทำให้ตนเองได้เปรียบกัน ส่วนโรงงานยางแท่งคุมเกมส์ราคาตลาดได้เบ็ดเสร็จที่สุด ตลาดโลกจะต่ำแค่ไหนจะขึ้นแค่ไหนขอมีเงินทุนซื้อหมุนเวียนเป็นพอ ผลกระทบต่อราคาตลาดก็ไม่ได้ทำให้โรงงานผลิตยางแท่งเจ็บตัวได้ ในห้วงเวลานี้ราคายางต่ำสุดในรอบ 10 กว่าปี โรงงานยางแท่งที่มีแต่การรับซื้อนำมาผลิตแล้วส่งออกความเสี่ยงน้อยสุด ณ ตอนนี้ แต่ถ้าเป็นโรงงานยางแท่งที่มีโครงการปลูกยางเองแล้วนำมาผลิตเองจะมีผลกระทบมากกว่า แต่ในทางกลับกันราคายางที่สูงขึ้นโรงงานยางแท่งที่ปลูกยางเองทำกำไรมหาศาลมากใช้เวลาคืนทุนในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งๆที่ลงทุนไปเกือบ 1,000 ล้านบาท จากนั้นตลาดจะเป็นเช่นไรก็มีชัยเหนือกว่าโรงงานยางแท่งธรรมดาทั่วๆไป ที่กล่าวมาเป็นการแข่งขันตลาดบนของผู้มีเงินทุนมีหุ้นแข่งขันในเวทีระดับสากล แต่ทำอย่างไรให้ชาวสวนยางจะไปถึงเป้าหมายได้ เบื้องต้นแค่สวนยางเดียวมีสวนเล็กๆแค่คิดก็ไปยากแล้ว แต่ในเมื่อมีกลุ่มสหกรณ์ชุมชนเพื่อรวมกลุ่ม เพื่อเริ่มต้นก็พอที่จะเห็นหนทางแล้ว
เมื่อกลุ่มชาวสวนยางที่มีสหกรณ์เป็นผู้บริหารดูแลในแต่ละชุมชน ต้องมองไปถึงตลาดต่อไปจะให้ถึงตลาดปลายให้ได้อย่างไร ปัจจุบันก็เริ่มมีทำมาแล้วแต่สุดท้ายสหกรณ์ก็ต้องโดนเทรดเดอร์ต่างชาติสกัดเรื่องราคาปลายทางอยู่ดี และเมื่อถามว่ารวมตัวกลุ่มสหกรณ์ต้องการส่งขายยางเครพตลาดส่งออกก็ลำบากจำเป็นต้องแปรรูปเป็นยางแท่งเสียก่อน เงินทุนสร้างโรงงานยางแท่งก็ไม่มี ไปจ้าง อสย.ผลิตราคาก็แพงเกินจริง เมื่อทำเป็นยางแท่งได้แล้วจะส่งออกก็ติดปัญหาเรื่องออเดอร์รับบ้างไม่รับบ้าง หรือถ้ารับปริมาณก็ทยอยส่ง ของก็ยังคงค้างสต๊อกเช่นเคย หนำซ้ำราคาตลาดโลกตกต้นทุนที่เคยซื้อมาแพงกว่า ยางค้างสต๊อกปล่อยสินค้ายากขึ้น มีโอกาสขาดทุนสูง สารพัดปัญหาที่กลุ่มสหกรณ์ต้องเจอ สรุปขายให้เทรดเดอร์ต่างชาติโดนกดราคาเหมือนเดิมครับ เมื่อสหกรณ์เจอปัญหานี้ก็อยู่ที่ชาวสวนยางรายเล็กไปถึงใหญ่ต้องช่วยกันแก้ไขกับสหกรณ์เช่นกัน ทั้งเรื่องให้เครดิต ทั้งเรื่องการฝากขาย การขายฝาก วิธีการต่างๆให้สหกรณ์มีผลกระทบน้อยที่สุดถ้าต้องการความยั่งยืน และเป้าหมายไปถึงตลาดปลายทางให้ได้
ทีนี้มาดูมุมมองส่วนตัว จากเริ่มต้นของบทความได้พูดถึงเกี่ยวกับประเภทยางแต่ละชนิดในการจัดจำหน่าย เป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องการให้มองภาพการทำยางพารา ไม่จำเป็นต้องแปรรูปให้ถึงขนาดยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน หรือน้ำยางข้น60% แต่ให้มองถึงช่วงระหว่างขั้นตอนการผลิตตอนกลางสามารถทำตลาดส่งออกได้หรือป่าว ผลดีการทำยางขายส่งออกระหว่างกลาง เช่น ยางแผ่นดิบที่ยังคงมีความชื้นอยู่ ยางแผ่นเครพสด ยางแผ่นเครพแห้ง สามารถทำการส่งออกได้เช่นเดียวกัน และสามารถเก็บสต๊อกไว้เมื่อมีออเดอร์การสั่งซื้อยางแท่ง STR20 ก็นำวัตถุดิบที่รอการจัดจำหน่ายมาขึ้นผลิตเมื่อมีออเดอร์สั่งซื้อ STR20 ที่แน่นอน เมื่อถามถึงตลาดยางแผ่นดิบ และยางแผ่นเครพ มีหรือเปล่าซึ่งตอบได้ทันทีว่ามี ตลาดนี้อยู่ในมือแล้ว ได้แก่
1.ภายในประเทศไทย รับซื้อยางแผ่นเครพสด,แห้ง เพื่อนำไปอบรมควันส่งออกต่ออีกที (มีสัญญา)
2.ประเทศจีน รับซื้อยางแผ่นดิบ DRC 80%-85% ยางแผ่นเครพแห้ง DRC 90% ขึ้นไป (มีสัญญา)
3.ประเทศเกาหลีใต้ รับซื้อยางแผ่นเครพรมควัน (อยู่ระหว่างตกลงเรื่องสัญญา)
4.ประเทศมาเลเซีย รับซื้อยางแผ่นเครพรมควัน (สัญญาพ่วงจากส่งขายภายในไทยในข้อที่ 1)
จากตลาดที่มีอยู่ให้สังเกตุตลาดขายยางแผ่นเครพรมควันให้ดี ก่อนการตัดสินใจจะขายตลาดเครพรมควัน ต้องขายผ่านภายในเสียก่อนคือ ยางแผ่นเครพสด,แห้ง เพื่อส่งออกไปต่อ เพราะเมื่อรมควันไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับไปทำยางแท่งได้อีก ฉนั้นการที่จะสต๊อกสินค้าเพื่อรอการจัดจำหน่ายให้ทำในรูปของเครพสดเครพแห้งเป็นหลัก ส่วนยางแผ่นดิบให้กำหนดความชื้นที่ 15%-20% ส่งออกไปจีนทันทีเพื่อไปทำยางแท่งมาตรฐาน TSR9710
จากที่แนะนำให้คงทำคุณภาพวัตถุดิบไว้ที่ตอนกลางของการผลิต เมื่อตลาดออเดอร์ยาง STR20 เข้ามาและทำสัญญาซื้อขายกัน ให้ทางกลุ่มชาวสวนยางหรือสหกรณ์นำวัตถุดิบขั้นกลางเข้าโรงงานรับจ้างผลิตยางแท่ง ตามปริมาณที่ลูกค้าได้สั่งในแต่ละครั้ง ซึ่งตลาดดังกล่าว ตอนนี้มีที่เดียว คือ ประเทศจีน เมื่อราคาเป็นที่ถูกใจทั้งผู้ขายและผู้ซื้อถึงจะเริ่มขั้นตอนการผลิตได้ในทันที
จากที่แนะนำให้คงทำคุณภาพวัตถุดิบไว้ที่ตอนกลางของการผลิต เมื่อตลาดออเดอร์ยาง STR20 เข้ามาและทำสัญญาซื้อขายกัน ให้ทางกลุ่มชาวสวนยางหรือสหกรณ์นำวัตถุดิบขั้นกลางเข้าโรงงานรับจ้างผลิตยางแท่ง ตามปริมาณที่ลูกค้าได้สั่งในแต่ละครั้ง ซึ่งตลาดดังกล่าว ตอนนี้มีที่เดียว คือ ประเทศจีน เมื่อราคาเป็นที่ถูกใจทั้งผู้ขายและผู้ซื้อถึงจะเริ่มขั้นตอนการผลิตได้ในทันที
บทความนี้พยายามจะหาช่องทางการทำการตลาดให้กับกลุ่มชาวสวนยางและสหกรณ์เป็นหลัก โดยต้องไม่โดนตัดทอนราคาจากพ่อค้าคนกลางหรือเทรดเดอร์ แต่ในเมื่อทางผมเองมีตลาดดังกล่าวจะยื่นตลาดนี้ให้อย่างไร นั่นก็คือรูปแบบการทำการตลาดแบบ Trading Management คือการบริหารการจัดการให้เจ้าของยางยิงตรงกับลูกค้ารับซื้อยางปลายทางเอง โดยเป็นรูปแบบบันทึกข้อตกลงกับทางเราเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนแบ่งทางการตลาดตามระเบียบกฏเกณฑ์ถูกต้องสมน้ำสมเนื้อในทุกๆครั้งไป
บทสรุปของบทความนี้คือ ชี้ช่องทางการจัดจำหน่าย ว่าในสถานการณ์ราคายางในขณะนี้ควรที่จะทำยางชนิดไหนส่งขายกันดี มีช่องทางการขายได้หลายรูปแบบ แต่ต้องวางแผนการทำวัตถุดิบต้องให้ได้คุณภาพและต้องสามารถเลือกที่จะจัดจำหน่ายได้ทั้ง วัตถุดิบเบื้องต้น และวัตถุดิบสำเร็จรูป เพื่อไม่เสียโอกาสช่องทางการตลาดในทุกๆช่อง ยังคงมีวิธีการทำการตลาดที่มากมายกว่านี้ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ทั้งหมด จึงขอสงวนไว้ให้กับลูกค้าที่สนใจการทำการตลาดของเราเท่านั้น
ผู้แชร์ประสบการณ์
บริษัท เอ็น โอเค พลัส จำกัด
โดย นายธนากร พลแดง
Tel : 0803883029
Tel : 0803883029
ID Line : nokrubberland
E-mail : marketing.nokplus@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น