วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ยางเครพ เพื่อการส่งออก

Rubber Crepe

          "ยางพารา" หลายคนอาจจะรู้จักยางพารากันพอสมควรหรือศึกษาข้อมูลจาก Google ก็สามารถเข้าใจยางพาราแต่ละชนิดได้ไม่ยาก แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจยางพารา หรือ ผู้ที่เริ่มปลูกต้นยางพาราก็จะมีความสนใจประเภทการทำยางต่างๆ
             
             อุปกรณ์เครื่องมือในการผลิต ตลอดจนตลาดที่นำไปขายในพื้นที่แต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งขายให้กับ กสย. โรงงานยางพาราทั้งเอกชน และ มหาชน รวมไปถึง ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ในรูปแบบยางก้อนถ้วย ขี้ยาง เศษยาง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน 
             
             ซึ่งรวมไปถึงยางเครพ ที่ใช้วัตถุดิบประเภท ยางก้อนถ้วย ขี้ยาง เศษยาง ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นไปอีก แต่ถึงอย่างไรก็ยังโดน พ่อค้าคนกลาง โรงงานยางใหญ่ๆ กดราคาซื้อยาง บางครั้งอ้างว่ายางไม่มีคุณภาพ บางครั้งยางไม่สะอาดพอ 
             
              ในความเป็นจริงเนื้อยางจะเป็นประเภทไหนก็ต้องนำมาทำลายใหม่ผ่านกรรมวิธีในการผลิตเป็นยางแท่งอีกรอบนั่นเอง แต่ที่สามารถกดราคาซื้อได้ก็เพราะยางเครพนี้ไม่มีราคาตลาดกลาง แต่จะคำนวณด้วยเปอร์เซ็นต์เนื้อยาง DRC กับราคายาง 100% นำมาคำนวณเป็นราคากิโลกรัมละ ถ้าโรงงานไหนมีห้องแล็บวิจัยเปอร์เซ็นต์เนื้อยาง DRC ก็จะหักลบราคายาง 100% ลงไป ถ้าโรงงานไหนหรือพ่อค้าคนกลางตีเปอร์เซ็นต์เนื้อยาง DRC จากสายตาก็จะคิดเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ แต่ราคายาง 100% จะได้ตามราคาจริงไม่มีหักลบ จึงถือว่าเป็นปัญหาหลักของตลาดยางเครพเลยก็ว่าได้


              ขั้นตอนการผลิตยางเครพ จึงมีส่วนสำคัญมากในเรื่องราคา เพราะคนส่วนใหญ่จะคิดว่าการรีดยางเครพเป็นการผลิตยางที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องคุมมาตรฐานมาก ซึ่งก็ถูก แต่ความง่ายตรงนี้กลายเป็นข้ออ้างทำให้การตีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางจากแ่ผ่นยางเครพต่ำลงไปด้วย แต่ก็ต้องเข้่าใจผู้ที่เป็นพ่อค้าคนกลางเช่นเดียวกัน ต้องกันกำไรเปอร์เซ็นต์ที่เหลือเอาไว้ค่าแรงงาน ค่าขนส่ง และกำไร เพื่อลดความเสี่ยงในการรับซื้อในแต่ละครั้งเช่นกัน

               แต่ถึงอย่างไรสเป็กของยางแผ่นเครพมีความหนามากๆ เราก็จะคาดเดาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางค่อนข้างยาก จากประสบการณ์การขึ้นราวตากบางจุดลมพัดเข้าไปไม่ถึงทำให้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเปอร์เซ็นต์ยางแผ่นเครพหนาๆ แล้วจะได้เนื้อยางหรือค่า DRC เท่าไหร่กันแน่

               แต่ถ้าเราผลิตยางแผ่นเครพให้บางๆ การขึ้นราวตาก การระบายความชื้นในแผ่นยางเครพที่บางจะดีกว่าเครพที่แผ่นหนา การคำนวณเปอร์เซ็นต์จากสายตาจะทำได้ง่ายกว่ายางเครพที่มีความหนา 

                เปรียบเทียบเมื่อนำยางแผ่นเครพแบบบาง และแบบหนา ขึ้นราวตากคันละ 1 ตันเท่าๆกัน นำมาผึ่งลมในที่ร่มเป็นเวลา 15 วัน ยางแผ่นที่บางจะมีน้ำหนักที่เบากว่ายางแผ่นหนาอย่างเห็นได้ชัด เพราะความบางทำให้เนื้อยางภายในแผ่นแห้งเร็วระบายความชื้นได้เร็ว แต่ยางแผ่นหนาทำให้เนื้อยางภายในแผ่นยังคงมีความชื้นเยอะ เมื่อนำเข้าห้องแล็บตรวจค่า DRC เพื่อหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางจะแตกต่างกันเยอะมาก

                ยางแผ่นบางจะได้เปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าส่งขายได้เร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด เปรียบเสมือนการส่งขายเนื้อยางได้มากกว่าความชื้นที่ติดไปกับแผ่น จะคุ้มค่าในการขนส่งในแต่ละเที่ยว 

                การตีเปอร์เซ็นต์แผ่นเครพที่บาง จากสายตาก็จะเหลือมล้ำกัน บวก-ลบไม่เกิน 3 % ในขณะยางแผ่นหนาดูจากสายตาเปอร์เซ็นต์จะ บวก-ลบสูงถึง 10% ซึ่งมีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ทำยางแผ่นเครพขาย




              เครื่องมือในการผลิตยางเครพ ไม่มีอะไรซับซ้อนแล้วแต่ทุนทรัพย์ของผู้ผลิต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตยางแผ่นดิบ แผ่นรมควัน ที่ทำจากน้ำยางสด เครื่องมือเครพจะมีราคาสูงกว่ามาก ซึ่งเครื่องที่ผลิตยางแผ่นเครพคือ Creper Machine หรือ เครื่องรีดยางเครพ ซึ่งมีหลายแบบหลากหลายรุ่น ผู้นำด้านเครื่องจักรรีดยางก้อนถ้วยเป็นแผ่นเครพนี้ คือ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีวิวัฒนาการค่อนข้างสูงกว่าบ้านเรามาก ราคาเครื่องจักรจึงมีราคาที่แพงมากถึงมากที่สุด มีตั้งแต่ 800,000-2,000,000 บาท อยู่ที่ขนาดของขอนรีด ที่มีตั้งแต่ 12" 14" 16" 18" 20" 22" 24" 26" 28" 30" 32" จนปัจจุบันที่มาเลเซียมีถึง 50" แล้ว ซึ่งเป็นราคาเครื่องใหม่มีรับประกันสินค้า 

              ในขณะเดียวกันโรงงานใหญ่ๆจากมาเลเซียปลดระวางเครื่องจักรนำมาขายทอดตลาดเป็นเครื่องมือสองจะมีราคาตั้งแต่ 250,000-1,000,000 บาท ซึ่งถือว่าผ่านการใช้งานเป็นเวลานานนำมา Modifiy ใหม่ จะมีกำลังมอเตอร์ 30 แรงม้า - 100 แรงม้าขึ้นไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้ไฟ 3 เฟสเท่านั้น


             โดยทั่วไปเครื่องรีดยางจะมีสองแบบด้วยกัน คือ เครื่องรีดแบบขอนตรง และ เครื่องรีดแบบขอนเอียง ซึ่งความแตกต่างอย่างไรสามารถหาข้อมูลจาก Google ได้ แต่จากประสบการณ์โดยตรงของผมการใช้เครื่องรีดยางแบบขอนเอียงคือคำตอบสุดท้าย เพราะในอนาคตการผลิตยางเครพจะมีการพัฒนาไปถึงการผลิตยางแท่ง จำเป็นต้องใช้เครื่องรีดยางแบบขอนเอียง เพราะต้องต่อระบบอนุกรม ไลน์อัตโนมัติ แบบมีสายพานลำเลียง เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องมีเครื่องรีดยางเครพจำนวน 5 ตัวขึ้นไป อัตราการผลิตจะรวดเร็วตาม Capacity ที่ระบุในคุณสมบัติเครื่องจักรรีดยางเครพในแต่ละเบอร์แตกต่างกันไป
            
               แต่สำหรับผู้ริเริ่มทำยางเครพขายอย่างเดียว การผลิตยางแผ่นเครพต้องใช้ระบบ Manual หรือใช้แรงงานคนในการเครพ ซึ่งความเร็วในการผลิตต่อวันน้อยกว่าระบบอัตโนมัติมาก แต่ตัวเดียวก็สามารถผลิตยางได้วันละหลายตันเช่นเดียวกันเหมาะสมกับผู้มีงบไม่เยอะและผู้ผลิตเครพขายอย่างเดียว

              จากประสบการณ์ที่เคยใช้เครื่องจักรทั้งสองแบบขอนตรงและขอนเอียง ผลจะออกมาแตกต่างกันในเรื่องปริมาณ 

               การผลิตแบบ Manual โดยเครื่องรีดยางเครพแบบขอนตรงขนาด 14" มอเตอร์ 40 แรงม้า กำลังการผลิต 8 ชั่วโมงผลิตได้ 1.0-1.5 ตัน

               เปรียบเทียบกับเครื่องรีดยางเครพแบบขอนเอียงขนาด 12" มอเตอร์ 20 แรงม้า กำลังการผลิต 8 ชั่วโมงผลิตได้ 2.5-3.0 ตัน 

              ซึ่งเครื่องรีดยางขอนเอียงเป็นสินค้าใหม่เป็นรุ่นออกแบบใหม่โดยวิศวะกรรมจากเยอรมัน จะเน้นในเรื่องห้องทดเกียร์เป็นหลัก ฉนั้นเครื่องรีดยางเครพสมัยนี้เลยไม่จำเป็นต้องใช้กำลังมอเตอร์ที่สูงๆ เหมือนเครื่องสมัยก่อน จะมุ่งเน้นการประหยัดไฟฟ้า ซึ่งผลออกมาประหยัดกว่าเครื่องขอนตรง 14" มอเตอร์ 40 แรงม้า กว่ามาก ข้อมูลจากโรงงานผมโดยตรง 


เครื่องรีดยางเครพขนาด 14" รุ่นเก่า แบบขอนตรง


                 เครื่องรีดยางเครพขนาด 16",18" รุ่นเก่า แบบขอนตรง เร็วขึ้นจากมอเตอร์แรงม้าสูงขึ้น






เครื่องรีดยางเครพขนาด 12.5"ขอนเอียง 20 แรงม้า การผลิตยางถ้วย Manual 3,000 kg./8 hr.




เครื่องรีดยางเครพขนาด 12.5"ขอนเอียง 20 แรงม้า การผลิตยางที่ผ่าน Slab Manual 2,500 kg./8 hr. 

                 จากข้อมูลเบื้องต้น เป็นประสบการณ์จริงของผู้เขียน นำความรู้จากเหตุการณ์การทำงานเป็นที่ปรึกษาและหุ้นส่วนให้กับบริษัทที่ สปป.ลาว มาเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่คิดจะริเริ่มทำยางเครพ หรือผู้ที่ผลิตทำอยู่แล้ว มาแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาในการผลิตยางเครพให้ดียิ่งๆขึ้นไป พร้อมทั้งผู้เขียนยินดีให้แจมออเดอร์ส่งออกไปมาเลเซียและจีนที่ส่งเป็นประจำ ในราคาที่เอื้อแก่ทุกๆคน ยินดีร่วมเป็นพันธมิตรในวงการยางพารากับทุกๆท่าน ขอบคุณครับ

สามารถติดตามประวัติการทำงานและราคาตลาดเซี่ยงไฮ้ SHFE ได้ที่ Facebook 
www.facebook.com/noel.kaham

                                                                                     ผู้แชร์ประสบการณ์

                                                                                  N OK PLUS Co.,Ltd.

                                                                           Tel / Line : 091-009-9485 

Tel : 080 3883029
                                              
                                                                           Line / ID   : nokrubberland

                                                                    Email : marketing.nokplus@gmail.com

Email : oatrmx@hotmail.com

4 ความคิดเห็น:

  1. ราคาเครื่องรีดยางเครป เท่าไหร่ครับ

    ตอบลบ
  2. เครื่องรีดยางเครป มีขนาดไหนบ้างครับ

    ตอบลบ
  3. ผมสนใจเครื่องรีดยางเครปครับ ต้องการข้อมูลครับ http://rubber-crepe.blogspot.com/

    ตอบลบ
  4. ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่ไม่ได้ตอบ เนื่องจากช่วงปีที่แล้วอยู่ประเทศจีนทั้งปี เน้นไปทางด้านตลาดขายมากกว่า มาปีนี้กลับมาพร้อมคุณภาพของเครื่องจักรมาตรฐานโลกถ้าสนใจเครื่องเครพแท้นำเข้า ติดต่อสอบถามได้ตามเบอร์ข้างบนนะครับ
    ลิงค์บทความเครื่องเครพ พร้อมราคา ---------> http://rubbercrepe.blogspot.com/2014/06/blog-post_26.html

    ตอบลบ