วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราไทย




บทนำ

          จากปัญหายางพาราที่เรื้อรังมาอย่างยาวนาน เป็นผลทำให้ธุรกิจยางพาราไทยถึงจุดที่แคบลงทุกๆปี ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ตาม Supply ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี แต่ความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกน้อยลง และราคาตลาดยางโลกก็ลดลงตามไปด้วย จากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจโลก ราคาทอง ราคาน้ำมัน สงคราม ปัญหาเหล่านี้เป็นผลทำให้การผลิตยางวัตถุดิบเพื่อการส่งออก มีราคาที่ตกต่ำ ส่งผลให้เกิดการกดราคารับซื้อยางจากชาวสวน พ่อค้าคนกลาง นายทุน โรงงานผลิตยางแท่งขนาดใหญ่ โรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน เนื่องจากราคาการส่งออกมีราคาที่ต่ำมาโดยตลอด

            บทความที่แล้ว "ตื่นเถิดประเทศไทย กับวิกฤตการณ์ยางพาราระลอกใหม่!!!" ได้มีการลงทุนปลูกยางเองและใกล้กรีดยางเต็มในเขตพื้นที่ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียร์ม่า และเวียดนาม นอกจากนั้น ทางตอนใต้ของจีนคือ มณฑลยูนนาน ก็สามารถปลูกยางในเขตเมืองหนาวได้แล้วเช่นกัน จึงเป็นบทความที่บ่งบอกถึงการเกิด Over Supply ปริมาณยางธรรมชาติในรูปของวัตถุดิบก่อนการแปรรูปคงค้างสต๊อกถึง 2 ล้านตันต่อปี ในอนาคตอันใกล้นี้

วงจรยางพารา

             เมื่อทราบถึงปัญหาวิกฤตยางดังกล่าว แนวทางการแก้ไขจะเป็นเช่นไร คงต้องแบ่งจำแนกออกเป็น 3 ระยะ ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วคือ

             1. ต้นน้ำ = การเพาะปลูกต้นยางพาราของชาวเกษตรกร ซึ่งคือ น้ำยางสด ยางถ้วย เศษยาง โดยจำกัดความเป็น "วัตถุดิบเบื้องต้น"

             2. กลางน้ำ = การผลิตยางพารา ของโรงงานผลิตยางแท่ง และผลิตยางอื่นๆ ซึ่งก็คือ ยางแท่ง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ยางเครป ยางคอมปาวด์ และยางคอมปาวด์เคมี โดยจำกัดความเป็น "วัตถุดิบก่อนการแปรรูป"

             3. ปลายน้ำ = การแปรรูปยางวัตถุดิบของกลางน้ำ ซึ่งก็คือ ยางล้อรถ สายพานลำเลียง พื้นรองเท้า ถุงมือยาง ยางรัดของ และอื่นๆอีกมากมาย โดยจำกัดความเป็น "ผลิตภัณฑ์ยาง"

             โดยส่วนใหญ่ การแก้ปัญหาราคายางพาราของหน่วยงานรัฐ มักจะแก้ไขจาก ต้นน้ำ เป็นหลัก รองลงมาคือ กลางน้ำ สุดท้ายมาจบที่ ปลายน้ำ ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็จะเกิดการประท้วงจากกลุ่มคนต้นน้ำ ทำให้ต้องคอยไปอุ้มคนต้นน้ำอยู่เสมอ พอจะแก้ไข กลางน้ำ ก็โดนหาว่าไปอุ้มกลุ่มนายทุนเสียมากกว่า การช่วยเหลือ กลุ่มคนต้นน้ำ เมื่อพอพูดถึง กลุ่มปลายน้ำ ส่วนใหญ่ก็เป็น โรงงานแปรรูปยาง ของเอกชน เกือบ 100% และต้องมองถึงผลประโยชน์ภายในองค์กรก่อนเสมอเป็นหลัก ทำให้ หน่วยงานรัฐไม่สามารถไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโนบายของ กลุ่มปลายน้ำ และ กลางน้ำได้เลย ฉนั้นการจัดการแก้ไขให้กับ กลุ่มต้นน้ำจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าแต่ไม่ยั่งยืน เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งไม่สามารถไปบังคับกลไกชี้นำราคาของตลาดหุ้นยางได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ราคารับซื้อภายในไทยสูงจริง แต่ราคาตลาดยางโลก ไม่ได้ขยับขึ้นตามราคาชี้นำภายในไทยเลยแม้แต่น้อย

การเริ่มต้นแก้ปัญหาจาก "ปลายน้ำ"

               แนวทางการแก้ไขจากทัศนคติในส่วนตัว ควรที่จะต้องเริ่มต้นจากกลุ่ม ปลายน้ำ เสียก่อน ซึ่งก็เป็นเรื่องไม่ง่ายและก็ไม่ยากเช่นกัน เมื่อหน่วยงานรัฐบาล ถูกมอบหมายให้แก้ไขปัญหาราคายางทั้งระบบ ให้มีการปฎิรูปวงการยางพาราไทยให้เป็นรูปธรรมและต้องยั่งยืน จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยในการต้องลงมาจัดการ บริหาร ปลายน้ำ เป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันจากข่าวสารทั่วไป พูดถึงการทำพื้นถนน การทำสนามฟุตบอล โดยใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมหลัก ก็มีให้เห็นแต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการแก้ไขเนื่องจากต้นทุนที่ทำสูงมากๆ ไม่สามารถรับซื้อยางพาราจากชาวสวนได้ทั้งประเทศ ได้เฉพาะกลุ่มคนต้นน้ำเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น

การตลาดโดยหน่วยงานรัฐ

                เมื่อแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ปลายน้ำ แล้วหน่วยงานรัฐควรสนับสนุน ผลิตภัณฑ์ยาง ชนิดไหนทำออกสู่ตลาด โดยเริ่มต้นจากหน่วยงาน สังกัดของภาครัฐเป็นหลักก่อน โดยปัจจุบันมีกระทรวงหรือเทียบเท่าจำนวนทั้งสิ้น 20 กระทรวง

                โดยทั้ง 20 กระทรวงได้งบประมาณประจำปี อยู่ทุกๆปี และมีการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เข้ามาใช้ในกระทรวง ทบวง กรม ทั้งสิ้น โดยทำการสำรวจรายจ่ายที่จัดซื้อจัดหาที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากยางธรรมชาติ ว่ามีกี่รายการและราคาเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น

                 กระทรวงกลาโหม จัดซื้อรองเท้าบู๊ต หมอนและที่นอนยางพารา สำหรับกองทหารหลายๆสังกัด เพื่อสุขภาพของทหาร จากการพัฒนาหมอนและที่นอนทำจากยางพาราเป็นหลัก เสริมสร้างช่วยให้ทหาร หรือทหารเกณฑ์ มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ได้อีกทางนึง

                 กระทรวงศึกษาธิการ จัดซื้ออุปกรณ์การเรียนที่ทำจากยางพารา ได้แก่ ยางลบ รองเท้า พื้นสนามกีฬา และอื่นๆ

                 กระทรวงสาธารณะสุข จัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ได้แก่ อุปกรณ์ต่างๆ ในโรงพยาบาลรัฐ หมอน ที่นอน ถุงมือยาง อุปกรณ์การช่วยเหลือพยาบาล และอื่นๆ ที่ทำจากยางพารา

                 จากนั้นให้เช็คปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์จากมากสุดไปหาน้อยสุด เพื่อเริ่มต้นทำโครงการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่หน่วยงานรัฐใช้มากที่สุดเป็นหลัก นำมาคำนวณหาปริมาณที่ใช้ยางธรรมชาติกี่เปอร์เซ็นต์และ วัตถุดิบผสม อัตราส่วนเท่าไหร่ ซึ่งสามารถขายได้ราคาที่ถูกกว่าจัดซื้อมาในแต่ละปี เนื่องจาก รับซื้อยางจากชาวสวนเอง ผลิตสินค้าเอง กำหนดราคาเอง เป็นต้น

บทสรุปของ "ปลายน้ำ"

                 ฉนั้น การนำร่องผลิตภัณฑ์ยางชนิดไหน ให้ดูจากการใช้ยางของแต่ละกระทรวงเป็นหลัก โดยให้ กระทรวงเกษตร เป็นผู้นำร่อง โรงงานการแปรรูปยาง เพื่อการใช้ประโยชน์ในหน่วยงานของรัฐบาลไทย หรือ นำแนวทางการแปรรูปยาง เป็นผลิตภัณฑ์ยาง ให้กับ กลุ่มสหกรณ์ชุมชน ในแต่ละเขตอำเภอ จังหวัด เป็นตัวแทนในการทำโรงงานแปรรุป เป็นผลิตภัณฑ์เสียเอง โดยการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวให้แก่กลุ่มสหกรณ์แต่ละท้องที่ และให้รับซื้อยางจากชาวสวนยางโดยตรง ในราคาที่สูงกว่าตลาดกลางยางพาราไทย โดยหน่วยงานรัฐเป็นผู้รับผิดชอบรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางโดยตรง เพื่อเก็บสินค้าไว้จำหน่ายให้แก่ หน่วยงานรัฐของกระทรวงต่างๆ เปรียบเสมือน หน่วยงานรัฐเป็นผู้สนับสนุนการแปรรูปยางพร้อมทั้งเป็นตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์ยางในคราวเดียวกัน

                  นอกเหนือจากที่สหกรณ์ได้แปรรูปยางส่งขายผลิตภัณฑ์ยางให้กับรัฐแล้ว หน่วยงานรัฐยังสามารถนำสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ยาง หาตลาดส่งขายออกไปต่างประเทศได้เช่นกัน นั่นคือการสร้างชื่อเสียง ผลิตภัณฑ์ยาง ในแบนด์ของ รัฐบาลไทย ในอนาคต หรือ กลุ่มสหกรณ์ยางเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ทำตลาดส่งขายออกทั่วโลกได้เช่นกัน

                   เมื่อพูดถึง การทำผลิตภัณฑ์ยางแต่ละชนิด จำเป็นต้องมีกรรมวิธีในการผลิตที่ซับซ้อนและแตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่ใช่ปัญหาสำหรับนักวิชาการ หรือผู้มีประสบการณ์ ด้านการแปรรูปยางมาหลายชนิด จึงต้องมีทีมวิจัย วัตถุดิบผสม การวางแผน การบริหาร การตลาด ถ่ายทอดให้แก่ กลุ่มสหกรณ์เพื่อการแปรรูป โดยตรง ขอสงวนสิทธิ์รายละเอียดดังกล่าว

การแก้ปัญหายางพาราจาก "กลางน้ำ"

                    ปัจจุบันอุตสาหกรรมกลางน้ำ ของหน่วยงานรัฐ คือ องค์การสวนยาง หรือ อสย. จากการอนุมัติโครงการมาตั้งแต่ปี 2539 แต่ได้เริ่มและสร้างเสร็จในปี 2554 แต่ก็ยังไม่สามารถรันเครื่องจักรผลิตยางได้ในทันที ต้องปรับปรุงและแก้ไขเครื่องจักรกลอยู่เป็นปี ถึงปัจจุบันดำเนินการในการผลิตยางได้เพียง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากการอนุมัติโครงการคือปี 2539 ในเอกสารจัดซื้อจัดหาเครื่องจักรผลิตยางพาราเป็นรุ่นและรหัสเมื่อสมัยนั้น จำเป็นต้องนำเข้ามาติดตั้งให้ได้ตามเอกสารที่กำหนด ผลที่ออกมาคือ เครื่องจักรผลิตยางพารา ของ อสย. ในปัจจุบันเป็นรุ่นเก่าที่ไม่มีความทันสมัยพอในการผลิตยางแท่ง STR20 ได้มาตรฐานทั้งหมด นอกจากนี้พื้นที่ในการสร้างโรงงานค่อนข้างเล็กกว่าโรงงานยางแท่งของเอกชนทั่วๆไป จึงไม่มีเนื้อที่เก็บสต๊อกยางวัตถุดิบและยางแท่งได้ดีพอ ส่วนเรื่องการรับจ้างผลิต กิโลกรัมละ 5.60 บาท/กิโลยางแห้ง ก็เป็นอีกปัญหาซึ่งต้องมีการแก้ไขปรับปรุง โดยปกติต้นทุนการผลิตยางแท่งอยู่ในช่วง 2.80 - 3.50 บาท/กิโลกรัม เท่านั้น

                     สาเหตุที่ต้องมีการรับจ้างผลิตจากข้อมูลได้ทราบมาบ้าง อสย.ไม่มีเงินรับซื้อยางวัตถุดิบเบื้องต้นจากชาวสวนยาง จึงรับยางจากชาวสวนยาง บริษัท หรือยางวัตถุดิบจากสหกรณ์ต่างๆ มารับจ้างผลิตเป็นครั้งๆไป และเก็บสต๊อกเพื่อรอการส่งออกไปขายที่ประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในบางครั้งการผลิตยางแท่ง STR20 รอจำหน่าย ในความคิดส่วนตัวเห็นว่า กลุ่มสหกรณ์หรือบริษัท จ้างผลิตไปไม่สามารถส่งออกขายได้ในทันที มีความเสี่ยงสูงในการขาดทุนมากจากราคาตลาดยางที่ผันผวน บวกกับอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมเข้าไปอีก มีความเป็นไปได้ถึง 80% ที่มีโอกาสขาดทุนแน่นอน

                     จากสาเหตุสำคัญที่ยางแท่ง STR20 ผลิตโดย อสย. ไม่สามารถจำหน่ายส่งออกไปยังประเทศจีนได้ เนื่องจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปที่ประเทศจีน มีความสนใจรหัสโรงงานยางแท่งเป็นหลัก เปรียบเสมือนยี่ห้อของยางแท่ง STR20 เลยก็ว่าได้ ถ้าเป็นรหัสโรงงานที่มีชื่อเสียงอย่าง 5 เสือยางพาราไทย ทางผู้ซื้อย่อมจะมั่นใจในการเปิด LC มาทันที โดยได้ราคา FOB ท่าเรือกทม. และราคา CIF ท่าเรือชิงเต่า ในราคาที่ดี จากชื่อเสียงของ 5 เสือยางพาราไทยนั้น ทางประเทศจีนให้การยอมรับมั่นใจในคุณภาพยางแท่ง STR20 เป็นอย่างมาก เมื่อกลับมามองมุมของผู้จ้าง อสย. ผลิตโดยรหัสโรงงานคือ B4 และ B5 โดยส่วนตัวของผู้เขียนเคยส่งตัวอย่างยางแท่ง STR20 ไปทางจีนขนาด 35kg. เพื่อให้ตรวจสอบถึงขนาดของยางแท่ง และนำเข้าแล็บวิจัยมาตรฐาน TSR ผลออกมาคือไม่ผ่านคุณสมบัติยางแท่ง TSR ยังคงมีสิ่งเจือปนและขี้เถ้าสูง ทั้งๆที่ผลแล็บจากกรมวิชาการเกษตรไทยบอกว่าผ่าน ฉนั้นในส่วนของ อสย. ต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่การรับซื้อ การเก็บ การบ่มยาง การเข้าผลิต เครื่องจักรที่ผลิต เตาอบยาง และการบรรจุหีบห่อ อีกครั้งนึง

มุมมองส่วนตัวของปัญหา อสย. 

                      องค์กรสวนยาง หรือ อสย. เป็นโรงงานผลิตยางแท่ง CPR20 และ STR20 เป็นหลักซึ่งก็มีความสามารถทำได้เพียงแค่ยางแท่ง CPR20 STR20 และ STR10 ซึ่งสเป็กใกล้เคียงกัน แตกต่างกันในเรื่อง ค่า Dirt, Ash, Volatile matter, Nitrogen, Mooney, PO, PRI, Lovibond colour เพียงเล็กน้อย และ อสย. ในภาคอีสานมีอยู่เพียง 3 แห่ง ได้แก่ นครพนม อุดรธานี และศรีสะเกษ เป็นที่รู้จักกันดีในภาคอีสาน ชาวสวนยางทั่วไปไม่สามารถอาศัยพึ่งพาในการนำยางไปขายให้ อสย. ได้เลยแม้แต่น้อย (ไม่นับโครงการกองทุนมูลภัณฑ์กันชนเพื่อเข้าซื้อยางในตลาดกลางยางพาราในราคาชี้นำตลาดซึ่งจะไม่สามารถทำได้ตลอด) เพราะไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยางของชาวสวนยางได้เอง ชาวสวนยางจึงเลือกไปขายให้กับโรงงานผลิตยางแท่งของ 5 เสือยางพาราไทย เป็นหลัก ถึงแม้ว่า อสย.จะมีเงินทุนในการรับซื้อยางจากชาวบ้านเองก็ตามทีแต่หลังจากผลิตเป็นยางแท่งที่มีคุณภาพในระดับที่สากลยังไม่ยอมรับก็ยากที่จะทำตลาดขายส่งออกไปยังต่างประเทศเช่นกัน สิ่งที่ องค์การสวนยางขาด ก็คือ

1. เงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อยางจากชาวสวนยางโดยตรง
2. คุณภาพยางและชื่อเสียงโรงงานผลิตยางแท่ง ยังไม่ได้การยอมรับ
3. การรับซื้อยางชาวสวนยาง ยังไม่มีระบบการจัดการที่มีความยุติธรรมพอ ที่จะให้ชาวสวนยางเชื่อถือ
4. อสย.ผลิตยางได้เพียง ยางแท่ง STR20 STR10 และ CPR20 (ยางคอมปาวด์ธรรมชาติเบอร์20) เท่านั้น
5. การรับจ้างผลิตในราคา 5.60 บาท/กิโลกรัมแห้ง ยังไม่โปร่งใสเท่าที่ควร
6. การผ่านบริษัทนายหน้ารับจ้างผลิตยางใน อสย.อาจเป็นตัวถ่วงในการรับจ้างผลิตในราคา 5.60 บาท
7. ตลาดขายส่งออกยังตกเป็นรอง 5 เสือยางพาราไทยอยู่มาก
8. ห้องแล็บวิจัยยางภายใน อสย. ยังไม่สามารถออกใบอนุญาติมาตรฐาน STR20 เองได้ ต้องส่งไปกรมวิชาการเกษตรเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติยางอีกทีนึง (จากที่ดู อสย.สาขาอุดรธานี)

การแก้ปัญหา อสย. ในมุมมองส่วนตัว

1. ควรมีงบประมาณการรับซื้อยางวัตถุดิบให้กับ อสย. โดยต้องซื้อจากชาวสวนยางโดยตรง
2. บริหารจัดการ การรับซื้อยางวัตถุดิบเบื้องต้น ให้ DRC และราคาที่โปร่งใสตามความเป็นจริง
3. การทำโรงงานผลิตยางแท่ง อสย. ให้สามารถผลิตยางชนิดอื่นๆได้เพิ่มเติม เช่นการผลิตยาง คอมปาวด์เคมี (อัตราส่วนที่ 95%, 88%) และการทำยางเครปคุณภาพเพื่อการส่งออกในรูปแบบวัตถุดิบ
4. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักรผลิตยางพาราใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันกำลังการผลิตได้แค่ 5 ตัน/ชั่วโมง ควรจะเปลี่ยนให้ได้ 10-16 ตัน/ชั่วโมง และควรที่จะทำงานได้ 24 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอต่อการรับซื้อยางจากชาวสวนยางได้ทันปริมาณ
5. แก้ไขการวางไลน์เครื่องผลิตยางแท่งของ อสย. เป็นในรูปแบบเก่า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักรทั้งระบบด้อยลงตามไปด้วย
6. เมื่อ อสย. มีงบประมาณรับซื้อยางจากชาวบ้านเองแล้วให้ยกเลิกการรับจ้างผลิต เนื่องจากไม่มีช่องว่างในการรับจ้างผลิตแล้ว
7. การตลาดและการส่งออก โดยสร้างคุณภาพยางมาตรฐานรหัสโรงงานของ อสย. ให้เป็นที่รู้จักในการขายในตลาดโลก และทำการตลาดขายยางให้ได้หลากหลายชนิด ตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งได้ทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องเป็นยางแท่ง STR20 เสมอไป แต่ทำตลาดขาย STR10, CPR20(100%), CPR(88%), CPR(95%), STR CV60, Crepe Rubber Sheet ควบคู่หลายๆอย่างไปด้วย
8. สำหรับโรงงาน อสย. ซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐ และตั้งเป้าให้เป็นโรงงานรับซื้อยางชาวสวนยางโดยตรง การให้ราคาตามความจริงของ DRC ตามราคาตลาดกลาง มีความโปร่งใสยุติธรรมให้แก่ประชาชน โดยให้สิทธิพิเศษในการส่งออกยางทุกชนิดของ อสย. ได้มีการยกเว้นเก็บเงินค่า Cess หรือเงินสมทบการทำสวนยาง เพื่อนำเงินดังกล่าวมารับซื้อยางชาวสวนยางให้สูงขึ้นและยุติธรรมโปร่งใสมากขึ้นไปด้วย

บทสรุปของ "กลางน้ำ"

                     การทำกลางน้ำ โดยอาศัย อสย. เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ไปยังการทำระบบ ปลายน้ำ ในบางส่วน สลับกับการทำตลาดส่งออกยางที่ผลิตจากโรงงานองค์การสวนยาง ไปยังประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศจีน เช่น รัสเซีย โซนแอฟริกา และโซนตะวันออกกลาง ให้มากขึ้น เพื่อลดปริมาณ Supply ภายในประเทศให้ได้รวดเร็วมากขึ้นไปอีก เมื่อสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ของ ปลายน้ำ และ กลางน้ำ ได้ผลที่ออกมาคือ ประเทศจีนซึ่งเป็นลูกค้าหลักของเรา จะมีโอกาสขาดแคลนยางวัตถุดิบทุกชนิดจากไทยไปทีละน้อย เป็นผลทำให้ Demand ในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางตลาดโลกยกระดับสูงขึ้นตามไปด้วย

การแก้ปัญหายางจาก "ต้นน้ำ"

             จากการแก้ไขปัญหายางพาราของหน่วยงานรัฐที่ผ่านมา บ่งบอกถึงการพยายามทำให้ชาวสวนยาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิดในโลกนี้ ให้อยู่รอดจากราคายางที่ตกต่ำของตลาดยางโลก ตามหลักความเป็นจริงแล้วยางพาราไม่ได้มีแต่เฉพาะในประเทศไทยประเทศเดียว ซึ่งในประเทศเพื่อนบ้านเรา คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมไปถึง กลุ่ม CLMV อินเดีย จีน ก็มีการปลูกยางมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ Supply คือปริมาณของความต้องการที่จะขายมากขึ้นเป็นพิเศษตาม แซงหน้า  Demand ความต้องการซื้อ ซึ่งมีความต้องการที่จะซื้อขึ้นไปตามลำดับของความต้องการของตลาดโลกที่เป็นตัวชี้นำ จึงไม่แปลกที่ราคายางพาราในปัจจุบันจะตกต่ำลงเรื่อยๆ เพราะ Supply สูงกว่า Demand ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมปลายน้ำแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ กำลังการผลิตมีขอบเขตจำกัด และต้องผลิตตามสินค้าที่ตลาดโลกต้องการในปริมาณที่ไม่แน่นอน ในขณะเดียวกัน Supply อย่างยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์ น้ำยางข้น มีการผลิตออกมาต่อวันในปริมาณที่สูงมากๆ จน อุตสาหกรรมปลายน้ำ ต้องชะลอการสั่งซื้อเข้าแปรรูปผลิตภัณฑ์เมื่อราคายางโลกสูงขึ้น และมีการเก็บสต๊อกวัตถุดิบก่อนการแปรรูปเยอะขึ้น จึงทำให้ Demand ในการสั่งซื้อน้อยลง แต่ที่ยังขายกันได้อยู่เพราะราคายาง ณ ตอนนี้ตกต่ำถึงขีดสุด อุตสาหกรรมกลางน้ำ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ จึงยังซื้อเข้ามาสต๊อกไว้เรื่อยๆ เพราะราคาในปัจจุบันถูกมากและทำกำไรได้ดี เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ยางที่แปรรูปเป็นสินค้าแล้ว ราคาขายสินค้ากับไม่ลดลงเลย มีแต่ราคาสินค้าสูงขึ้น จึงเป็นความได้เปรียบและโอกาสของ ปลายน้ำเกิน 100% และ กลางน้ำเกิน 50% ที่ยังคงเข้าซื้อยางอยู่ แต่ในทางกลับกันปัญหากับมาตกที่ต้นน้ำผลที่จะได้กลายเป็นความเสี่ยงสูงในการติดลบ เป็นผลเสียเปรียบอยู่ฝ่ายเดียว ฉนั้น สิ่งที่ "ต้นน้ำ" ต้องทำและรอคอย คือ

                   1. สนับสนุนการขายยางวัตถุดิบเบื้องต้นให้แก่ อสย. หรือ อุตสาหกรรมกลางน้ำ สามารถรับซื้อกับกลุ่มคนต้นน้ำได้แล้ว เมื่อระบบสำเร็จ
                   2. สนับสนุนกลุ่มสหกรณ์โดยการขายยางวัตถุดิบก่อนการแปรรูปให้กับ หน่วยงานรัฐ สหกรณ์ หรือ อุตสาหกรรมปลายน้ำ เมื่อระบบสำเร็จ
                   3. เรียนรู้การผลิตยางเบื้องต้นให้มีคุณภาพสามารถ ทำส่งออกยางวัตถุดิบได้เอง ไปยังโรงงานผลิตยางกลางน้ำ ของต่างประเทศ
                   4. ผันตัวเองเป็นผู้ผลิตยาง กลางน้ำ เพื่อส่งขายให้อุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้โดยตรงและจำเป็นต้องมีคุณภาพที่สูงกว่าเพื่อรอการเข้าแปรรูปเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง
                   5. สำหรับชาวเกษตรกรชาวสวนยาง ต้องการผลิตยางวัตถุดิบเพื่อการส่งออกเองโดยตรงให้สอดคล้องกับการช่วยเหลือกลุ่มคนต้นน้ำ หน่วยงานรัฐต้องยกเว้นค่า Cess และค่าพิธีการต่างๆที่อาจทำให้ต้นทุนของชาวสวนยางสูงขึ้น โดยสามารถส่งออกในนามสหกรณ์หรือบริษัทที่มาจากกลุ่มต้นน้ำจึงได้สิทธิพิเศษดังกล่าว
                   6. ระหว่างรอการเปลี่ยนแปลงของระบบ กลางน้ำและปลายน้ำ สำเร็จ ให้หน่วยงานรัฐประสานติดต่อกับโรงงานรัฐวิสาหกิจของจีน และ โรงงานรัฐวิสาหกิจของมาเลเซีย เพื่อเป็นการันตีปริมาณยาง การซื้อ การขาย การจ่าย การโอนเงินระหว่างประเทศ เพื่อที่ให้ กลุ่มชาวสวนยาง สหกรณ์ บริษัท ได้นำส่งขายและรับการชำระเงินได้สะดวกและรวดเร็ว ซึ่งโรงงานรัฐวิสาหกิจของจีน มีความต้องการวัตถุดิบเบื้องต้น เพื่อนำไปผลิตยางแท่งที่มีคุณภาพสูงกว่า STR20 ของบ้านเรา ในปริมาณหลักแสนตันต่อปีต่อโรงงาน
                   
บทสรุปของ "ต้นน้ำ"

                   สภาวะราคายางตลาดโลกตกต่ำลงต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ตกอยู่ที่ไทยประเทศเดียวเท่านั้น แต่ประเทศผู้ปลูกยางพาราก็มีผลกระทบเช่นเดียวกัน ประเทศที่มีกระทบน้อยก็คือ ประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งมีการปลูกยางไม่สูงมากเท่ากับอาเซียน ทั้งจีนและอินเดีย ก็มีอุตสาหกรรมปลายน้ำค่อนข้างหลากหลาย ที่เรียกว่า "ปลายน้ำแข็งแรง" "กลางน้ำพอใช้" "ต้นน้ำอ่อนแอ" จึงมีการนำเข้ายางวัตถุดิบก่อนการแปรรูป ไปยังประเทศจีน และอินเดีย มาก ฉนั้นปัญหายางพาราภายในไทยจึงเรียกได้ว่า "ปลายน้ำอ่อนแอ" "กลางน้ำแข็งแรง" "ต้นน้ำแข็งแรงมาก" ถึงแม้ว่าปลายน้ำยังคงอยู่กับที่ ก็จะมีแต่กลางน้ำที่ทำส่งออกในปริมาณยางที่สูงมากเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ในขณะเดียวกันปลายน้ำถึงจะอ่อนแอแต่ใช้ปริมาณยางน้อยมากแต่ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออกได้สูงกว่ากลางน้ำหลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับจำนวนยางที่นำมาใช้ในการส่งออก ความบาลานซ์ของ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จึงไม่มี เพราะยางส่งออกส่วนใหญ่มาจาก กลางน้ำถึง 80% แต่ยางบ้านเราไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศจีนได้มากมายกว่าหลายเท่าตัวนัก

                     ดังนั้น ลองยกอุตสาหกรรมปลายน้ำของจีนทั้งหมดหรือแค่ครึ่งนึง มาลงที่ประเทศไทย และเป็นของคนไทยเอง โดยที่เรามีกลางน้ำที่แข็งแรง และต้นน้ำที่แข็งแรงมาก อยู่แล้ว เศรษฐกิจในภาพรวมของไทยที่ มียางพาราเยอะที่สุดในโลก ผลิตยางเยอะที่สุดในโลก และแปรรูปทำส่งออกได้เยอะที่สุดในโลก จึงถือว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งอย่างแท้จริง และมากกว่าสินค้าทางการเกษตรทุกชนิดเลยก็ว่าได้

แนวทางการจับคู่

1. ต้นน้ำ------>ปลายน้ำ------>ส่งออก

                       กล่าวคือ การผลิตยางจากชาวสวนยางโดยตรงโดยการเก็บน้ำยางสด นำมาทำเป็นยางแผ่นดิบตากแห้ง ยางแผ่นรมควัน และยางถ้วย นำมาทำเป็น แผ่นยางเครปคุณภาพ ส่งขายให้กับอุตสาหกรรมปลายน้ำ เพื่อแปรรูปเป็น สายพานลำเลียง พื้นรองเท้า และอื่น ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้วทำการขายให้กับหน่วยงานรัฐภายในประเทศซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่ายางได้ถึง 2-8 เท่าตัว พร้อมกับทำตลาดนำเสนอส่งออกขายสินค้าในนามรัฐบาลไทย

2. กลางน้ำ------>ปลายน้ำ------->ส่งออก

                        กล่าวคือ การนำยางที่ผลิตจาก โรงงานของหน่วยงานรัฐคือ อสย. หรือ โรงงานขนาดเล็ก โรงงานขนาดกลาง ที่ผลิตเป็น แผ่นยางเครปคุณภาพ ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ ส่งขายให้กับ อุตสาหกรรมปลายน้ำ เพื่อนำไปแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางทำการขายให้กับหน่วยงานรัฐภายในประเทศ และทำตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศในนามสินค้าจากรัฐบาลไทย

3. ต้นน้ำ ------>ส่งออก

                         กล่าวคือ การนำน้ำยางสด ยางถ้วย เศษยาง ขี้ยาง จากชาวสวนยางผลิตเองเป็น ยางแผ่นดิบตากแห้ง ยางแผ่นรมควัน ยาง ADS ยางเครปขาว ยางเครปคุณภาพ ส่งขายให้กับ โรงงานผลิตยางแท่งต่างประเทศ ซึ่งมีราคารับซื้อที่สูงกว่าโรงงานยางแท่งภายในประเทศ 8-14 บาท/กิโลกรัม เพียงแต่ติดอุปสรรคค่าพิธีการ ค่า Cess จากหน่วยงานรัฐของไทย และเมื่อสินค้าส่งเข้าไปโรงงานผลิตยางแท่งที่จีนแล้วจะต้องเสียค่าโควต้าเข้าไปจีนเพิ่มเติม แต่ก็เป็นผลทำให้ราคายังคงสูงกว่าขายภายในไทย 5-10 บาท/กิโลกรัมอยู่ดี ถ้าตัดค่าใช้จ่ายภายในประเทศก่อนชาวสวนยางหรือสหกรณ์ก่อนส่งออก ก็สามารถสร้างราคาได้สูงขึ้นไปอีก

4. กลางน้ำ------>ส่งออก

                          กล่าวคือ การผลิตยางแท่ง ยางแผ่นดิบอบแห้ง ยางเครปขาวอบแห้ง ยางเครปคุณภาพตากแห้ง น้ำยางข้น ของโรงงาน อสย. ซึ่งเป็นของหน่วยงานรัฐ และรับซื้อยางจากชาวสวนยางโดยตรง พร้อมนำมาผลิตยางอื่นๆ ที่นอกเหนือจากยางแท่ง STR20 เช่น ยางคอมปาวด์NR100% ในรหัส CPR20 ยางคอมปาวด์เคมีสัดส่วน 95%,88% ยางแท่ง STR CV60, STR CV50 เพื่อทำการตลาดส่งออกในนามของโรงงานรัฐบาลไทยเป็นผู้ผลิตเองโดยตรง

หมวดอุตสาหกรรมปลายน้ำ 1 โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางได้ 10 ชนิด

อุตสาหกรรมผลิตสายพานลำเลียง เป็นหลัก สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มเติมดังนี้

1. สายพานลำเลียง ทุกชนิด
2. บังโคลนรถ
3. ยางท้องเรือชูชีพ
4. ยางปูสระน้ำ
5. ยางล้อตัน สำหรับโฟร์คลิฟท์
6. ผ้ายางปูพื้นรถ
7. สายพานส่งกำลัง
8. ยางรับแรงสั่นสะเทือน
9. ยางรองฐานตึก
10. ยางกันชนท่าเรือ

อุตสาหกรรมผลิตหมอนที่นอนยางพารา เป็นหลัก สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มเติมดังนี้

1. หมอนยางพาราเพื่อสุขภาพ
2. ที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ
3. โฟมยาง
4. ฟองน้ำ

บทสรุปโดยรวม

                          ภาคอุตสาหกรรม "ปลายน้ำ" คือการสนับสนุนการแปรรูปยางทั้งระบบให้เป็นแบบแผน การก่อสร้างโรงงานแปรรูปยางพารา 1 แห่ง ให้สามารถผลิตแปรรูปยาง ให้ได้สินค้าได้หลากหลายชนิดใน 1 โรงงาน แต่เป็นแนวทางในไลน์ผลิตเดียวกันเครื่องจักรชนิดเดียวกัน สามารถสร้างสรรงาน ผลิตภัณฑ์ยางได้มาตรฐาน มีคุณภาพในระดับสากล

                            ภาคอุตสาหกรรม "กลางน้ำ" โดยปกติโรงงานผลิตยางแท่ง และโรงงานผลิตยางแผ่นรมควัน โดยทั่วๆไป จะตั้งโรงงานผลิตยางวัตถุดิบก่อนการแปรรูป เพียงชนิดเดียว ทำให้เสียโอกาสในการทำตลาดในการส่งออกน้อยลงตามไปด้วย จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน อุตสาหกรรมกลางน้ำ ให้สามารถผลิตยางวัตถุดิบก่อนการแปรรูปได้ ให้ได้หลายชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตยางแท่ง อสย. เดิมทีผลิตยางแท่ง STR20 CPR20 เท่านั้น ควรมีการเพิ่มเติมเครื่องจักรที่สามารถผลิตยางในบางรายได้เพื่อที่สามารถทำยางรหัสอื่น เช่น  STR5L, STR CV50, STR CV60, Compound เคมี เป็นต้น จากความต้องการของตลาดยางโลก วัตถุดิบก่อนการแปรรูปแต่ละชนิดที่นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบในการแปรรูปที่แตกต่างกันออกไป จึงเห็นควรให้มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมกลางน้ำดังกล่าว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโรงงานผลิตยาง อสย. ให้เป็นที่ยอมรับลูกค้าในหลายๆประเทศ และให้มีชื่อเสียงในระดับสากลต่อไป

                             ภาควัตถุดิบเบื้องต้น "ต้นน้ำ" ปัจจุบันชาวสวนยางทั่วไป และในเขตพื้นที่แต่ละภูมิภาค มีการสร้างวัตถุดิบเบื้องต้นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น การขาย น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย เศษยาง ขี้ยาง ยางลอกคราบ โดยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม กลางน้ำ ในแต่ละพื้นที่ต้องการวัตถุดิบเบื้องต้นชนิดไหน ในเขตพื้นที่นั้นๆ ก็จะผลิตตามที่ อุตสาหกรรมกลางน้ำที่นั้นต้องการ จึงเป็นสาเหตุทำให้การผลิตยางวัตถุดิบเบื้องต้นก็จำกัดเฉพาะเจาะจงเพียงชนิดเดียว เมื่อหน่วยงานรัฐสามารถพัฒนา อุตสาหกรรมปลายน้ำ ควบคู่แก้ไขอุตสาหกรรมกลางน้ำไปพร้อมๆกัน ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในหนึ่งพื้นที่สามารถสร้างวัตถุดิบเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับยางของตนเองได้ โดยมีตลาดรองรับในการรับซื้อได้ยางวัตถุดิบเบื้องต้นได้ทุกชนิดและเกิดการแข่งขันการรับซื้อยางของ อุตสาหกรรมปลายน้ำ และอุตสาหกรรมกลางน้ำ ในที่สุดแล้ว จึงจะเกิดการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบอย่างถาวรและยั่งยืนต่อไป


                                                                                                                           ผู้แชร์ประสบการณ์
                                          
บริษัท เอ็น โอเค พลัส จำกัด

นาย ธนากร พลแดง

080 3883029

Line ID : nokrubberland

E-mail : marketing.nokplus@gmail.com

Facebook : www.facebook.com/noel.kaham

]

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Number One of Natural Rubber in the World. Block Rubber TSR SMR STR SIR SVR CSR

          N OK PLUS Company Limited is a company dedicated to dealing with all kinds of rubber. In Thailand And ASEAN To customers in countries such as North America, Europe, Middle East, Africa and so on which the order is not required to go through a broker, while the rubber. And rubber from Malaysia, Thailand, Indonesia, Vietnam, Cambodia and Laos as the creator of the main raw material of natural rubber.  we can control for international standard to you. Contact to us directly. Whether you need any kind of rubber cheap and quality that have been certified by the Rubber Research Institute of Management, we can supply to an affected system. Without going through any broker in the world. The way we deal with you is.





















1. offering a way to control costs. To buy rubber at unbeatable prices. The techniques are suitable for customers from far away who do not understand the material. Before the processing of rubber in the output.





2. Rubber Introduction of rubber to all needs of our customers. Sort by rubber demand in the world market sach as.

   2.1 Technically Specified Rubber (TSR) 




2.2 Compound Rubber (CPR) 





2.3 Ribbed Smoked Sheet (RSS) 





2.4 Concentrated Latex 60% (LTX)



   
2.5 Crepe Rubber Sheet (CRS) 




2.6 Unsmoked Rubber (USS) 



2.7 Air Dried Sheet (ADS)





3. Refer quality rubber that suitable the specifications of each customer's needs. Suitable for cold Products made from rubber such as car tires, truck tires, spare parts etc.






          Buying rubber each have distinct similarities. Because understanding the different quality rubber material of each country is different. The quality of rubber that are recognized internationally in the rubber TSR (Technically Specified Rubber) sequentially reputation Global Rubber follows.

     1. Standard Malaysia Rubber (SMR) is divided into different types depending on the raw material used to produce the SMR CV, SMR L, SMR 3L, SMR 5L, SMR10 and SMR20.
 
     2. Standard Thai Rubber (STR) is divided into different types depending on the raw material used to manufacture the STR CV, STR 5L, STR10 and STR20.

     3. Standard Indonesia Rubber (SIR) is divided into different types depending on the raw material used to produce the SIR L, SIR 3L, SIR 5, SIR10 and SMR20.

     4. Standard Vietnamese Rubber (SVR) is divided into different types depending on the raw material used to manufacture the SVR CV, SVR L, SVR 3L, SVR 5L, SVR 5, SVR10 and SVR20.

     5. Cambodia Standard Rubber (CSR) is divided into different types depending on the raw material used to produce a CSR L, CSR 3L, CSR10 and CSR20.
    

          If you want to purchase rubber from Thailand. And ASEAN countries Through our company It is essential for customers who contact. Have to travel to Thailand to talk what the customer's needs. That's mean are sincerely and seriously to buying. The company will continue to provide our customers to purchase by step :



          1. Those who are interested to take To purchase product according to the category. Directly to the manufacturer of rods. Rubber sheets etc. and  can  negotiate prices by ownself.





          2. We understand the quality of raw materials and production techniques, high quality rubber. Each type of plant rubber Selectively to suit the needs of our customers.




          3. If the customer wants Starting from the purchase of raw materials from rubber cup lump latex rubber is then brought into production. For export By hiring a manufacturing plant rubber match. Wage manufacturing rubber material to us in the lowest wages. The company will operate to reveal all the details.





           N OK PLUS Company Limited, in addition to introducing a system of buying and selling to customers fully integrated company, we are the factory rubber on standard within the country, namely the incorporation of the foreign shareholders' equity. Application for license Requests for permission factory Environmental permit licenses Imports of  production machinery of all kinds. The system Erection The wastewater treatment system Construction of the office building, truck scales, etc. With One Stop Service to introduce foreign customers. Investment, industrial rubber products, rubber, customers can export themself . Help to reduce cost a fortune rubber The company has knowledge  for all  production system. To customers who are interested in a particular investment. For more details about the company directly.











Worte by.................... 

N OK PLUS Co.,Ltd.

Tel : +66 92 523 2520

E-mail : marketing.nokplus@gmail.com

E-mail : nang9922@gmail.com

Facebook : www.facebook.com/noel.kaham

Google+ : www.google.com/+ThanakornPoldang




วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตื่นเถิดประเทศไทย กับ วิกฤตยางพาราระลอกใหม่ !!!!!

 บทนำ

      บทความฉบับนี้อาจจะไม่สำคัญกับหลายๆท่านในปัจจุบันเท่าไหร่นัก เนื่องจากยังไม่ถึงวิกฤตยางพาราในอนาคตที่จะเกิดขึ้นอันใกล้นี้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่าจะเกิดขึ้นกับวงการยางพาราในครั้งนี้แน่นอน ถึงขั้นสั่นสะเทือนวงการยางพาราบ้านเราได้เลยทีเดียว ฟังดูแล้วมันจะขนาดนั้นเชียวหรือ อาจจะเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดได้เสมอ  แต่หลายฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นโต้แย้งในบทความฉบับนี้ได้ เป็นสิ่งที่ดีมากเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการวิเคราะห์ แนวทาง คาดการณ์ ป้องกัน เตรียมการณ์ และแก้ไข ร่วมกัน ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือ อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้

      ขอให้ทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เป็นข้อมูลจากประสบการณ์จริงตั้งแต่ปี 2007-ปัจจุบัน ที่ผู้เขียนได้รวบรวมเก็บเล็กผสมน้อยไว้ นำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลภายในไทยที่ผ่านมาหลายๆปี เพื่อวิเคราะห์หาทิศทางของยางพาราในตลาดโลกว่าจะมีแนวโน้มไปทิศทางใดในอนาคตอันใกล้นี้
      สืบเนื่องจากตัวผมเองได้ศึกษาระบบการค้าขายยางพาราภายในไทย มาเป็นเวลาเพียง 5-6 เดือนเท่านั้น (อาจได้ข้อมูลถูกบ้างผิดบ้างต้องขออภัยไว้ก่อน) หลังจากที่กลับมาจากการทำตลาดในประเทศจีน และเคยทำงานในประเทศเพื่อนบ้านหลายๆประเทศด้วยตนเอง คือ กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียร์ม่า และเวียดนาม จึงพบความแตกต่างจากประเทศไทยหลายประการด้วยกัน ตั้งแต่ จุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกยางพารา วิวัฒนาการยาง การสนับสนุนจากภาครัฐ กลุ่มทุนต่างชาติ นายทุน พ่อค้ารายใหญ่ ข้าราชการ และสวนยางชาวบ้าน  โดยปกติแล้วได้ทราบถึงรูปแบบการทำสวนยางพารา การค้าขาย การตลาด ภายในไทยก่อนหน้านี้อยู่แล้ว (ก่อนไปเสี่ยงโชคในต่างแดน) แต่สิ่งที่แปลกใจเมื่อกลับมา คือ ยังคงมีรูปแบบในการค้าขายยางพาราที่เป็นวงจรในรูปแบบเดิมๆ รวมไปถึงวิวัฒนาการยางพารา ที่ยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเช่นเคย มีเพียงแต่เพิ่มขึ้นของโรงงานผลิตยางแท่ง STR20 มากกว่าแต่ก่อนเยอะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้ง สาขาของโรงงานผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทย และโรงงานภาคเอกชน เกิดขึ้นมาใหม่หลายบริษัทด้วยกัน

     ผู้เขียนขออนุญาต อธิบายประเด็นสำคัญๆ เท่านั้น ของกลุ่มประเทศ CLMV เริ่มไล่เรียงจากพื้นที่การเพาะปลูกยางพารา นโยบายการสนับสนุนของภาครัฐในแต่ละประเทศ ก่อนแล้วจะอธิบายผลกระทบที่จะมาถึงเราอย่างไร ให้ทราบในท้ายบทความนี้

C = Cambodia หรือ กัมพูชา ในประเทศนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจเหมือนกันกับประเทศไทย ส่วนใหญ่ผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางจะเป็น คนร่ำรวย ผู้มีอิทธิพล นักการเมือง นักธุรกิจ แม้กระทั่ง ท่านสมเด็จฮุนเซ็น (ขออนุญาตเอ่ยนาม) ก็มีสวนยางพาราด้วยเช่นกัน พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะอยู่ที่ จ.สตึงเคร็ง จ.รัตนคีรี จ.กำพงทม และ จ.กำปงจาม เป็นต้น โดยจากคำบอกเล่าของเจ้าของโรงงานยางแท่งที่รู้จัก พื้นที่เพาะปลูกยางพาราในประเทศกัมพูชามีการประมาณการณ์โดยเฉลี่ยที่ 6 ล้านไร่ในขณะนั้น ตัวผมเองก็ได้เดินทางไปดูงานรวมถึงโรงงานผลิตยางแท่งของคนรู้จักกันที่ จ.กำปงจาม ในปี 2009 ช่วงนั้นสุ่มสี่สุ่มห้าไปเองไม่ได้ ต้องให้นายทหารกัมพูชามารับที่ชายแดน (ในขณะนั้นผมข้ามจากเมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ตรงข้ามเขตพื้นที่ จ.สตึงเคร็ง ของกัมพูชา) ข้อมูลสวนยาง ต้นยางใหม่ที่นั้นเริ่มทะยอยเปิดกรีดกันแล้ว แต่ก็มียางที่เปิดกรีดมานานแล้วอยู่ไม่น้อยเช่นกัน สวนยางชาวบ้านมีบ้างแต่ก็น้อยกว่าสวนยางกลุ่มทุนต่างชาติอยู่ดี ในเวลานั้นผมและทีมงานได้มีโอกาสไปช่วยงานแนะนำเรื่องกรีดยางและการทำยางแผ่นให้กับเจ้าของสวนยางรายใหญ่ใน จ.รัตนคีรี อยู่ช่วงนึง สวนยางอื่นๆก็จะเป็นในส่วนของกลุ่มนายทุนจากต่่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถเข้าถึงนิคมสวนยางต่างชาติได้เลย โดยประเทศเวียดนาม สามารถสัมประทานเพาะปลูกยางพาราได้เยอะที่สุด จะอยู่ จ.รัตนคีรี เป็นหลัก รองลงมา จ.กำปงจาม จ.กำปงทม เป็นต้น ในขณะที่ จ.รัตนคีรี มีชายแดนติดกับประเทศเวียดนามจึงเป็นพื้นที่สัมประทานให้กลุ่มทุนชาวเวียดนามมากที่สุด ส่วนกลุ่มทุนชาวจีนก็มีปะปนกันไป และที่สำคัญ ประเทศกัมพูชา มีรหัสสินค้ายางของตัวเองคือ CSR (Cambodia Standart Rubber)นั่นแสดงว่าประเทศนี้มีมาตรฐานสถาบันวิจัยยางเองแล้ว ตลาดหลักที่ส่งออก ได้แก่ จีน เวียดนาม และมาเลเซีย

ยางแท่ง CSR ดูจากสึ CSR L เทียบเท่า STR5L
   
    ล็อตที่ไม่ได้ขอ Certificate ห่อแล้วคงยากเอาออกมาแล็บ


ตัวอย่างที่ได้ปีนั่นผิวข้างนอกสกปรกหน่อย แต่ได้เบอร์ CSR L =  SVR 3L = STR 5L เทียบจากผลแล็บ 





CSR10 คุณสมบัติวิจัยเทียบเท่า STR10
CSR20 คุณสมบัติวิจัยเทียบเท่า STR20






















L = Laos หรือ ลาว เป็นประเทศที่ผมทราบข้อมูลมากที่สุด ผมได้เข้าไปที่ลาวตั้งแต่ปี 2007 เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก หรือลาวตอนใต้ สมัยนั้นยังไม่มีการเปิดกรีดยาง จะมีแต่สวนยางเก่าแก่ 126 ปี เป็นพันธุ์พื้นบ้าน หรือต้นยางพาราอเมซอน ต้นฉบับของพันธุ์ยางทุกวันนี้ ปลูกสมัยเจ้าบุญอุ้ม เจ้ามหาชีวิตของคนลาวตอนใต้ในขณะนั้น และมีสวนยางดาฟี่ หรือสวนยางทหารเปิดกรีดแล้วเป็นปีที่ 3 เท่านั้น เป็นพันธุ์ไทเกอร์ บ้างก็ว่า RRIM600 (ส่วนตัวไม่ถนัดเรื่องพันธุ์ยาง) พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะเป็นของ รัฐวิสาหกิจจากประเทศเวียดนาม ยอดจำนวนเงินที่ลงทุนไปมากถึง 80 ล้านดอลล่าร์ และยังมีบริษัทเอกชนของเวียดนามอีก หลายบริษัท มาลงทุนปลูกพอๆกับของรัฐวิสาหกิจเวียดนามเลยทีเดียว โดยเฉพาะในแขวงจำปาสักที่เดียวมีถึง 60,000 เฮกต้า X 6.25 ไร่ = 375,000 ไร่ (ข้อมูลจากเจ้ากรมที่ดินจำปาสัก) เป็นการใช้พื้นที่ผืนใหญ่ปลูกแบบสุดลูกหูลูกตา ส่วนสวนยางอื่นๆก็เป็นของพ่อค้าไม้ เจ้าของโรงเลื่อย เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าแขวงจำปาสัก รองเจ้าแขวง เจ้ากรมที่ดิน เจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์ (ขออาลัยท่านนี้เพิ่งเสียชีวิตเครื่องบินตกที่ลาวเร็วๆนี้) หัวหน้าการศุลกากรแขวง และอีกเยอะไล่ไม่หมด เอกสารข้อมูลผู้ถือครองที่ดินเพาะปลูกสวนยางอยู่ในมือผม และสิ่งที่สำคัญคือ เจ้าของสวนยางที่นี้เป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งแต่ 500 - 10,000 ไร่ กันทุกคน ส่วนสวนยางชาวบ้านทั่วๆไปก็จะมีตั้งแต่ 30-500 ไร่ (ต่ำกว่า 100ไร่หายาก) ไปทางตะวันออกและทางใต้เป็น แขวงสาละวัน แขวงเซกอง และแขวงอัตตะปือ สองแขวงหลังนี้ มีบริษัทมหาชนของไทยรายหนึ่งร่วมกับบริษัทฮองอันยาลายของเวียดนาม เพราะปลูกทั้งสิ้น 100,000 เฮคต้า และยังมีบริษัทรายใหญ่ในไทยสัมประทานที่แขวงอื่นๆใน สปป.ลาว ด้วยเช่นกัน (แหล่งข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภายใน สปป.ลาว)
     ขยับขึ้นมาเหนือหน่อย แขวงสะหวันนะเขตเป็นพื้นที่แห้งแล้งอนาคตจะเป็นเขตอุตสาหกรรมพิเศษเสียมากกว่าแต่ก็มีการปลูกยางในพื้นที่แขวงดังกล่าวพอสมควร ส่วนใหญ่จะปลูกอ้อยกับมันสัมปะหลังเสียมากกว่า เลื่อนขึ้นมาคือ แขวงคำม่วนเป็นพื้นที่เพาะปลูกยางไม่แพ้ แขวงจำปาสักเช่นกัน มีโรงงานผลิตยางเครพของคนไทยที่รู้จักอยู่ที่นั้น และโรงงานผลิตยางแท่งของเวียดนามที่นั่นเช่นกัน กลุ่มทุนจะมาจากเวียดนามซะส่วนใหญ่เพราะเป็นช่วงใกล้ประเทศเวียดนามมากที่สุดโดยไปทะลุท่าเรือดานังของเวียดนามซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่าเป็นท่าเรือของคนลาว เพราะส่วนใหญ่สินค้าลาวจะส่งออกจะไปเส้นทางนั้นมากกว่า ไล่ขึ้นมาเป็นแขวงบ่ลิคำไซย ไปถึงแขวงเชียงขวาง ซึ่งพื้นที่ปลูกก็ไม่น้อยหน้ากันและมีกลุ่มทุนชาวจีนมาปลูกคือบริษัทยูนนานรับเบอร์ ไล่ขึ้นไปที่นครหลวงเวียงจันทน์ เลยขึ้นไปเป็น แขวงเวียงจันทน์มีโรงงานยางเครพที่เมืองโพนโฮง (ผมเป็นการตลาดและช่วยก่อตั้งขึ้นมา)และการเพาะปลูกโดยกลุ่มนายทุนชาวเกาหลีใต้ จีน เป็นส่วนใหญ่ ไล่ไปทางแขวงไซยะบุลี แขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซย แขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี แขวงบ่อแก้ว จะเป็นกลุ่มนายทุนจากจีนซะเป็นส่วนใหญ่ปลูกยางและสร้างโรงงานยางแท่งเยอะที่สุด ชาวบ้านปลูกยางมีน้อยมากแบบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าถึงจะรู้ว่ามีชาวบ้านปลูกเอง เพราะสวนยางนายทุนจีนปลูกกันชนิด ทุกซอกทุกมุม บนเขาทุกลูก เทียบได้เท่ากับภาคตะวันออกไทยทั้งภาค พันธุ์ยางที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์สำหรับเมืองหนาวจากประเทศจีน เรียกได้ว่าสถิติปลูกยางพาราทั้งประเทศลาวมีประมาณไม่ต่ำกว่า 8 ล้านไร่ 

ต้นยางพาราอเมซอน กรีดได้วันละ 10 ถ้วย/ต้น
อายุต้นยาง 126 ปีกรีดได้เต็ม 365 วันไม่มีปิดหน้ายาง




















บริษัทเวียดนามเล็กๆ ในสปป.ลาว ทำยาง RSS เดือนละ 500-800 ตัน จากยางที่ปลูกของบริษัท 100%
ยางแผ่นรมควันที่นู่นตีเหมาเกรด RSS3 ไม่อัดลูกขุน
วิธีบรรจุหีบห่อใส่ถุงพลาสติกส่งออกไปตามนี้

ยาง RSS ผมเองทำส่งออกไปมาเลย์ทำ ตู้ Transit (ผ่านเวียดนาม) ไปขึ้นเรือที่ดานัง 
     รูปต้นยางอเมซอนต้นยางเก่าแก่ 126 ปี เปิดกรีดเต็ม 365 วันไม่มีวันพักกรีดไม่มีปิดหน้ายาง ผู้ใดสนใจอยากได้เม็ดพันธุ์นำไปเป็นพ่อพันธุ์ไปติดตาเขียวแจ้งมาได้ครับเดี๋ยวผมจัดให้ 


M = Myanmar หรือ พม่า เป็นประเทศที่มีการเพาะปลูกช้าสุดในกลุ่ม CLMV เพราะปัญหาภายในที่เราไม่อาจทราบได้ทั้งหมด ข้อมูลเชิงลึกของประเทศนี้ส่วนตัวมีข้อมูลน้อยมาก แต่เท่าที่ทราบมายังมีเมืองบางเมืองเป็นแหล่งเศรษฐกิจ และเพาะปลูกทางการเกษตรอยู่ เรียกได้ว่าเมืองใดมีการปลูกยาง เมืองนั้นจะเรียกกว่าเป็นของคนจีนทั้งนั้น ขอยกตัวอย่างที่ เมืองลา ติดชายแดน พม่า-จีน เป็นกลุ่มชาวไทลื้อ ไทใหญ่ อาศัยกัน (ไทลื้อมีทั้งคนจีนและคนพม่า) มีการลงทุนปลูกยางกันเต็มพื้นที่ทางเหนือของประเทศพม่า และ 80% เป็นสวนยางสัมประทานของคนจีนทั้งหมด ส่วนอีก 10% จะเป็นส่วนยางของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พ่อค้าที่ร่ำรวย ชาวบ้านทั่วไปไม่มีสิทธิ์ถือครอง (ข้อมูลจากการบอกเล่านายทุนชาวจีนที่ปลูกยางที่พม่า)ตอนนี้ยังมองไม่เห็นภาพปริมาณสวนยางได้เท่าไหร่ เนื่องจากเพิ่งจะเริ่มการเพาะปลูก แต่ด้วยปริมาณที่ดิน ที่คนจีนสัมประทานไปถึง 80% ของอัตราส่วนผู้ปลูกยางทั้งหมด ก็คงไม่น้อยไปกว่าประเทศกัมพูชาแน่นอน มีข้อมูลเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบอีกที

***หมายเหตุ ไม่มีรูปภาพประกอบส่วนตัวไม่กล้าเข้าไปลึก ข้อแม้ที่นู่นบังคับให้จ้างล่ามและรถตู้ทางฝั่งพม่าเท่านั้นถึงเดินทางไปได้หลายจังหวัดของพม่า แต่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป (เป้าหมายหายางป้อนเข้าโรงงานรัฐบาลจีน) จึงทราบข้อมูลในวงจำกัด***

V = Vietnam หรือ เวียดนาม ในกลุ่มประเทศ CLMV ถือว่าเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุดในการผลิตยางพารา เริ่มต้นโดยทางรัฐบาลเวียดนาม ให้การสนับสนุนกับภาคเอกชนเป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นหลายที่ในประเทศ แม้กระทั่งให้การสนับสนุนลงทุนไปยังต่างประเทศในการสัมประทานที่ดิน เรียกได้ว่า เวียดนามทำตัวเองเหมือนไทยผสมมาเลย์ กล่าวคือ เป็นทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แต่ปลายน้ำยังอาศัยการส่งออกไปยังประเทศจีนเหมือนไทยอยู่บ้าง แต่แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ภายในประเทศเวียดนามมีปริมาณสูงกว่าในไทย และที่สำคัญประเทศเวียดนามมีสถาบันวิจัยยางเอง หรือเรียกว่า SVR (Standard Vietnamese Rubber)และมีมาตรฐานยางหลากหลายเบอร์ นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ เช่น SVR L,SVR3L,SVR5L,SVR5,SVR10,SVR20 เรื่องพื้นที่เพาะปลูกยาง รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายให้การสนับสนุนปลูกยางภายในประเทศในปี 2015 ให้ครบ 700,000 เฮคต้า หรือ 4,375,000 ล้านไร่ ไม่รวมกับสนับสนุนให้เอกชนไปสัมประทานปลูกในประเทศกัมพูชาและ สปป.ลาว รวมแล้วพื้นที่ปลูกยางที่เป็นสวนยางของเวียดนามทั้งสิ้นโดยประมาณไม่ตำกว่า 6 ล้านไร่ และยังมีสวนยางจากกลุ่มทุนจากประเทศจีน มาสัมประทานที่ปลูกยางในประเทศเวียดนามอีกที่ยังไม่นับ ข้อดีอีกอย่างให้เวียดนาม คือ แรงงานกรีดยาง มีปริมาณที่สูงมากสามารถหาแรงงานได้ง่ายกว่าหลายๆประเทศอีกด้วย

รางรับน้ำยางสดที่ผ่านการกรองสะอาดแล้ว มาตรฐานความสะอาดไม่ธรรมดาครับ
เมื่อมีมาตรฐานในขบวนการคัดสรรวัตถุดิบที่ดี ก็สามารถผลิตยางแท่งได้มีคุณภาพสม่ำเสมอทั้งล็อต
การอัดยางแท่งให้ได้น้ำหนักตามมาตรฐาน 33kg.35kg.
เมื่อผลิตยางแท่งตกเกรดไม่ผ่านสามารถเข้าเครื่อง Dry พร้อมผสมสารเคมีเพื่อจะทำยาง Compound ได้ต่อทันที
Cooling Tunnel ระบายความร้อนหลังออกจาก Dry เป็นระบบยางคอมปาวด์ที่ขนาดเล็กไปหน่อยไม่เน้น Compound ส่งออกเท่าไหร่
เตาอบยางแท่ง หัวใจสำคัญของการทำยางแท่งคือตัวนี้ ถ้าเตาอบไม่ได้มาตรฐานเตรียมปิดโรงงานได้เลย เพราะยางอบสุกไม่หมดเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของระบบการทำโรงงานยางแท่งในไทยด้วย
หลังจากลงบล็อกเหล็กใช้แท่นปูนทับ 12 ชม.แล้วก็บรรจุเข้าพาเหรดเตรียมขึ้นตู้ลงเรือต่อไปตาม Packing ลูกค้ากำหนด


     จากข้อมูลของกลุ่มประเทศ CLMV ที่กล่าวมาบางท่านอาจจะเดาออกแล้วว่าจะมีผลกระทบต่อภายในไทยยังงัย แต่ก็จะขออนุญาตอธิบายเพื่อให้ครบองค์ประกอบของบทความนี้แล้วกันครับ

     ปัจจัยหลักที่เราไม่ควรมองข้าม มีหลายประเด็น ดังนี้ 

1.พันธุ์ยางที่ปลูกในกลุ่มประเทศ CLMV ส่วนใหญ่จะเป็นแนวพันธุ์รากฐานมาจาก RRIM600 เป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ไปบ้างเป็น เวียดนาม600 และเมื่อถามว่าปัจจุบันคุณสมบัติยางไทยมีคุณภาพเด่นและสูงกว่าประเทศอื่นๆมั๊ย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่เมื่อการนำรากฐานพันธุ์ยางมาจากไทย มาจากมาเลเซีย (ต้นกำเนิด RRIM600) จุดเด่นของไทยเราที่มีก็จะไม่ใช่จุดแข็งอีกต่อไป เมื่อคุณสมบัติออกมาเหมือนกันทุกประการ ด้วยหลักฐานการพิสูจน์ในเรื่องนี้ กล่าวคือ ผมได้นำยางในพื้นที่ของ สปป.ลาว ทั้งแขวงจำปาสัก แขวงคำม่วน แขวงบ่ลิคำไซย แขวงเวียงจันทน์ ไปขายและเข้าแล็บวิจัยมาตรฐาน TSR ที่ประเทศจีนมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งคุณสมบัติที่ออกมาเหมือนยางพาราในไทยทุกประการ สามารถทำรหัสที่ออกเป็น CV (Constant Viscosity Rubber) เป็นยางแท่งความหนืดคงที่ มีการปรับความหนืดสม่ำเสมอที่ 37-39 หน่วยมูนนี่ โดยมีการเติมสารเคมีเข้าไปซึ่งมีปฎิกิริยาที่ดีต่อยางไทย เพื่อป้องกันการเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโครงสร้างโมเลกุลยางที่เป็นสาเหตุให้เกิดความหนืดเพิ่ม มีผลไปถึง PO และ PRI ด้วย ฉนั้นการเติมสารเคมีเพื่อได้ค่า CV ขึ้นมาจึงจำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติยางที่ไทยเป็นหลักในการผลิตขึ้น แต่ไม่ใช่มีแค่ไทยที่สามารถมีคุณสมบัตินี้แล้ว ที่ลาว และเวียดนาม ก็สามารถมีคุณสมบัติดังกล่าวเทียบเท่ากับไทยได้ในอนาคตอันใกล้นี้

แปลงเพาะพันธุ์เนอสเซอรี่ แนวพันธุ์ RRIM600 RRIT251 RRIM3001 PB250 ในสปป.ลาว

2.วิวัฒนาการ แปรรูป "ยางวัตถุดิบ" ให้เป็น "ยางแท่ง" ก่อนขึ้นเป็น "ผลิตภัณฑ์" หลายฝ่ายยังคงเข้าใจแบบผิดๆว่า สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม (ไม่นับเมียร์ม่า) อุปกรณ์เครื่องมือผลิตยางยังล้าสมัยและล้าหลังกว่าไทย ซึ่งประเด็นตรงนี้ไม่ใช่อย่างที่หลายๆฝ่ายเข้าใจกัน จะกล่าวว่า "ที่ไหนมีทุนที่นั้นก็มีความทันสมัย" เริ่มแรกเดิมที กลุ่มประเทศ CLMV จะโฟกัสในการผลิตยางแบบที่ไทยทำกัน คือ ยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควัน แน่นอนว่าถ้าเป็นยางชนิดนี้ กลุ่ม CLMV ย่อมศึกษาและนำเครื่องจักรมาจากไทยเพื่อทำให้ได้ตามมาตรฐานที่สถาบันวิจัยยางไทยกำหนดทุกประการ (ส่วนตัวก็เคยนำเข้าแนะนำให้คนในลาว) แต่ด้วยพื้นฐานการปลูกยางพาราการลงทุนทำโรงงานแปรรูปของกลุ่มประเทศ CLMV นี้จะเป็นของภาครัฐ บริษัท เอกชน ซะเป็นส่วนใหญ่ (ถ้าจะมียาง USS RSS จะเป็นชาวสวนยางทั่วๆไปทำกันเสียมากกว่า ทำยางได้สวยและราคาถูกกว่าไทย 10 บาท/kg.) กลุ่มทุนที่มาลงทุนปลูกยางพาราใหญ่ขนาดนี้ ย่อมมีทุนในการแปรรูปยางพารามาขึ้นเช่นกัน เมื่อถามว่าเครื่องจักรผลิตยางพาราระดับผลิตยางแท่ง ต้องอาศัยตัวอย่างจากที่ไหน ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า มาเลเซียและจีน เพราะเป็นผู้นำวิวัฒนาการการผลิตยางแท่งมาตรฐานระดับโลก แต่จีนจะตามหลังมาเลเซียนิดหน่อย เนื่องจากเริ่มแรกเดิมทีจีนนำเข้ายางแท่งจากประเทศมาเลเซียซะเป็นส่วนใหญ่ หลังจากที่จีนมีพันธุ์ปลูกยางในพื้นที่อากาศหนาวได้แล้วก็ได้มีการนำวิวัฒนาการตามมาเลเซียในการผลิตยางแท่งเสียเอง เพราะลำพังแค่การนำเข้าไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศจีน จึงต้องอาศัยผลิตยางแท่งให้กับตัวเองเช่นกัน ฉนั้นเครื่องจักรผลิตยางพาราก็จะเป็น มาเลเซีย และตามด้วย จีน นั้นเอง กลุ่มประเทศ CLMV ที่เป็นภาครัฐ เอกชน ได้สั่งซื้อเครื่องจักรมาจากประเทศมาเลเซียบ้าง จากประเทศจีนบ้าง ก็เปรียบเสมือนโรงงานยางแท่งภายในไทยก็นำมาจากมาเลเซียและจีนเช่นเดียวกัน แถมเวียดนามและกัมพูชาก็มีสถาบันวิจัยยางของเค้าด้วยและมีการพัฒนาสถาบันตลอดเวลา (ประเทศลาวกำลังศึกษาการทำวิจัยยางพาราจากไทย เวียดนาม และจีน เพื่อมีมาตรฐานยางรหัส SLR ขึ้นมาเองแล้ว)

Dry Prebreaker 350HP อยู่ในลาวครับ ส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงงานยางแท่งรายใหญ่บ้านเรา

Cooling Tunnel ชื่อบอกหน้าที่อยู่แล้ว
Hydraulic baling press 100MT



Metal Detector เครื่องตรวจสอบโลหะในยางแท่ง
เครื่องจักรทันสมัยที่สุดในช่วงปี 2012
ระบบเครื่องจักรผลิตยางพารามาตรฐาน


ระบบบ่อบำบัดผ่านสิ่งแวดล้อมระดับอุตสาหกรรม รง.4 ผ่านสบายๆ
ระบบบำบัดน้ำดี น้ำเสีย
สถานีระบบบำบัดน้ำเสีย



3.ความสามารถในการพัฒนาการแบบก้าวกระโดดของประเทศเวียดนาม (ขอเอ่ยรายเดียวประเทศอื่นข้อมูลยังไม่แน่น) อย่างที่ทราบกัน เวียดนาม เป็นการปลูกยางแบบกลุ่มนายทุนมาลง สัมประทานที่ดินในประเทศเพื่อนบ้าน ระบบการจัดการผลิตสินค้าย่อมเป็นไปตามความต้องการของตลาดได้ง่ายขึ้น เมื่อใดตลาดโลกต้องการยาง Compound ก็สามารถให้องค์กรตัวเองทำออเดอร์ดังกล่าวส่งออกได้ในทันที หรือ ตลาดโลกต้องการยางแท่งรหัส 3L หรือ รหัส CV ก็สามารถนำวัตถุดิบไปแปรรูปได้ตามความต้องการเช่นกัน ฉนั้นการทำการตลาดขายของ เวียดนามจะมีเสถียรภาพในการขายได้ดีกว่าไทย จากการผลิตคุณสมบัติยางแท่งได้หลากหลายรหัส ทำให้มีตลาดรับซื้อยางแต่ละชนิดสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะผลิตภัณฑ์ยางบางกลุ่มใช้คุณสมบัติของยางแต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไป 

4.มาตรฐานการผลิตยางแท่ง เนื่องจากกลุ่มทุน นายทุนหรือรัฐวิสาหกิจลงทุนปลูกยางและสร้างโรงงานผลิตยางแท่งเอง ไม่จำเป็นต้องอาศัยรับซื้อยางพาราจากชาวบ้าน ทำให้ขั้นตอนการเก็บรักษา การขนถ่ายน้ำยางสด การเก็บตัวอย่าง การกรองน้ำยางสด และอื่นๆ ทำให้การผลิตยางแท่งย่อมมีเสถียรภาพสูงกว่าการรับซื้อวัตถุดิบจากภายนอกเข้ามาผลิตนั้นเอง แนวพันธุ์ยางที่เพาะปลูกยังเป็นพันธุ์เดียวกันทั้ง 100% เช่นกัน

5.Supply เมื่อเจอคำๆนี้ หลายๆท่านคงจะรู้สึกถึงปริมาณสวนยางภายในประเทศไทย ที่แห่กันปลูกและวัตถุดิบที่ล้นประเทศ ยางสต๊อกของรัฐ หรือโค่นยางทิ้งปลูกปาล์มทดแทน นั่นคือวิกฤตใบเบิกทางเท่านั้น ทำไมบทความนี้ถึงต้องอธิบายกลุ่มประเทศ CLMV ให้ฟังคร่าวๆ เพราะวิกฤตรอบต่อไปนี้ เกิดจากการแย่งส่วนแบ่งทางการส่งออกยางของไทยเราแน่นอน อย่างที่ทราบกันนี้ในปัจจุบันนี้สถิติยางใช้กันทั่วโลกมีถึง 70% มาจาก ไทย มาเลย์ และอินโด โดยลูกค้าส่งออกหลักของประเทศไทยคือ จีน ลูกค้าหลักส่งออกยางของอินโดนีเซีย คือ อเมริกา ไม่แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดการส่งออกกัน ส่วนประเทศมาเลเซียถึงขั้นผลิตยางเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าแล้วส่งออกขายทั่วโลกและขายได้ง่ายกว่าเพราะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย ส่วนยางแท่งที่เอาไปแล้วใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ต้องนำเข้าโรงงานแปรรูปอีกทีเสียก่อน เมื่อกลุ่มประเทศ CLMV เปิดกรีดเต็มพื้นที่ จะส่งผลปริมาณการส่งออกของไทยมากขึ้นและรุนแรงขึ้นทุกๆปี 

     เมื่อในอนาคตอันใกล้นี้ กลุ่มประเทศ CLMV นี้จะเกิดขึ้นมาเต็มรูปแบบและแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาดส่งออกจากไทยเราไป เพราะกลุ่มประเทศดังกล่าวตลาดหลักในการส่งออก คือ ประเทศจีนเหมือนไทยเช่นกัน รวมไปถึงต้นทุนยางพาราต่ำกว่าที่ไทยด้วย กลุ่มทุนที่สัมประทานที่ปลูกยางใน CLMV เกินกว่าครึ่งเป็นนายทุนจากประเทศจีนทั้งสิ้นเปรียบเสมือนประเทศจีนมีต้นน้ำเป็นของตัวเองเกือบเต็มรูปแบบแล้ว โควต้าการนำยางเข้าประเทศจีนอัตราส่วนก็จะน้อยลงตามไปด้วย และที่สำคัญมากๆคือ รัฐบาลจีนสนับสนุนให้กลุ่มทุนชาวจีนไปลงสัมประทานปลูกยางที่ CLMV สามารถดำเนินการขอจากกรมการค้ายูนนานนำยางที่ตนเองปลูกในต่างประเทศนำเข้าจีนในรูปแบบโควต้าภาษี 0% โดยโควต้าดังกล่าวเปิด 2 ครั้งต่อปี ครั้งละประมาณ 3-4 เดือน แน่นอนแล้วว่าประเทศจีนแก้ไขเรื่องการขาดแคลนการใช้ยางภายในประเทศได้ในระดับที่ดีในอนาคต จะคงเหลือแต่การนำเข้ายางพาราเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในการส่งออกไปประเทศที่ 3 เท่านั้น    

     สถิติจากแหล่งข้อมูลเว็บไซด์ www.thainr.com เรื่องการส่งออกยางในปี 2556

ข้อมูลจาก www.thainr.com ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร



     สถิติปี 2556 ยางไทยผลิตได้ทั้งสิ้น 4.37 ล้านตัน ส่งออก 3.66 ล้านตัน แต่นำมาใช้ภายในประเทศเพียง 5.2 แสนตัน เฉพาะพื้นที่ต้นยางที่กรีดได้ทั้งสิ้น (ปี 2556) 16,487,273 ไร่ นั่นหมายถึง สวนยางจำนวนนี้ผลิตยางทั้งสิ้นได้ 4.37 ล้านตัน 

     16,487,273 ไร่ = 4.37 ล้านตัน (ยาง100%)
ถ้าเกิดยางกลุ่มทุนชาวจีนที่ลงปลูกในกลุ่มประเทศ CLMV รวมกันโดยประมาณแค่ ครึ่งนึงของยางไทยที่กรีดได้ คือ 16,487,273 / 2 = 8,243,636 ไร่ ผลิตยางได้โดยประมาณ 2 ล้านตัน (เลขกลมๆตามปริมาณพันธุ์ยางของไทยเป็นหลักไปก่อน)

แหล่งข้อมูลจาก www.thainr.com แต่ข้อมูลตัวเลขของปี 2556 ผิดเพี้ยนนิดหน่อยแต่มีสถิติส่งออก 3.66 ล้านตัน

     เมื่อยางไทยส่งออกไป 3.66 ล้านตัน (ตีเหมาส่งออกเป็นจีนทั้งหมดก่อนจริงๆมีประเทศอื่นด้วย) เมื่อประเทศจีน นำเข้ายางจากลุ่มทุนชาวจีนด้วยกันเองจำนวน 2 ล้านตัน เหลือให้ไทยเพียง 1.66 ล้านตัน คำถามคือว่า ปริมาณยางส่งออกที่เหลือคือที่ไทยผลิตคงค้าง 2 ล้านตันต้องค้างสต๊อกภายในประเทศหรือป่าว ถึงจะไม่เป็นยอดตามนี้ เพราะทุกๆปีความต้องการใช้ยางจากจีนสูงขึ้นทุกปี แต่ก็ยังคงมียางค้างสต๊อกเป็นหลักล้านตันนั่นเอง ขนาดยางสต๊อกไทยล่าสุด 2.1 แสนตันยังมีปัญหาขนาดนี้ ฉนั้นในอนาคตนี้อาจจะเป็น Over Supply ของจริง เริ่มมีให้เห็นแล้วตั้งแต่ปี 2013 และในปีนี้ 2014 รุนแรงกว่าปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด

สถิติส่งออกยางแต่ละชนิดเรียงตามปริมาณ STR20 RSS Compound Latex Others ตามลำดับ 
ประเภทยางอื่นๆที่ส่งออกในปี 2556 สังเกตุการส่งออกของประเภทยาง Crepe Rubber มีเพียง 5,522 ตัน/ปีเท่านั้น

     มาถึงบทที่ทำไมส่วนตัวผมเองจึงเพียรพยายามอธิบายคำว่าคุณภาพยางวัตถุดิบต้องดีตั้งแต่การแปรรูปขั้นต้น ถ้าไม่ทำแล้วเราจะเอาอะไรไปแข่งขันตลาดโลกได้ จากข้อมูลสถิติด้านบน การทำยางส่งออกจะเน้นหนักไปที่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาว์ด น้ำยางข้น เป็นหลัก แต่ทำไมไม่คิดทำวัตถุดิบส่งออก ไปให้ทางโรงงานยางแท่งที่จีน ผลิตเสียเอง ตัดและลดขั้นตอนในการทำยางแท่ง STR20 ไปด้วยในตัว ทั้งๆการส่งออกยาง ADS Crepe Skim USS มีอัตราส่วนในการส่งออกน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับยางชนิดอื่นๆ ตัดชนิดยางความยากของการผลิตออกไป คือ ADS กับ Skim จะเหลือยาง Crepe และ USS ที่ทำได้ง่ายและถนัดที่สุดของชาวสวนยาง

     ยางวัตถุดิบทั้งสองชนิด คือ Crepe และ USS ยังคงเป็นวัตถุดิบที่ยังมีความชื้นอยู่ในเนื้อยาง จึงเป็นวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นต้องนำไปผลิตต่อเป็นยางแท่ง และ ยางแผ่นรมควัน ต่ออีกที แต่ในความเป็นยางวัตถุดิบนี้เอง ทางจีนก็มีความต้องการวัตถุดิบทั้งสองชนิดนี้มากๆ เพราะสามารถลดต้นทุนในการผลิตยางแท่งได้ ถ้าซื้อยางแท่งจากไทยไปต้นทุนค่อนข้างสูง และอีกประเด็นที่สำคัญคือการนำวัตถุดิบไปผลิตยางที่ได้คุณภาพสูงกว่า ยางแท่ง STR20 ฉนั้นการที่จะทำยางวัตถุดิบเพื่อการส่งออกจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคุณภาพตามไปด้วย 

     เมื่อมองแนวทางการตลาดแบบเดิมๆ คือ ยังคงพึ่งพาการขายยางไปยังโรงงานยางแท่ง STR20 เมื่อเกิดปัญหา Over Supply ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกๆปีนี้ จะมีผลกระทบเป็นห่วงโซ่กันเป็นทอดๆ ตามนี้
1.เริ่มจากผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ในไทย (ไม่ขอเอ่ยนาม) หลายๆคนนิยมป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานดังกล่าวโดยส่วนใหญ่ไปผลิตเป็นยางแท่ง STR20 เป็นหลัก ซึ่งถ้าตลาดหลักที่ส่งออกไปยังประเทศจีนมีการลดจำนวนในการนำเข้ายางลดลงไป ผลกระทบก็จะมาตกที่ชาวสวนยาง และโรงงานขนาดกลาง ไม่มีที่ส่ง ตลาดรับซื้อเริ่มแคบลงเรื่อยๆ ถึงผู้ส่งออกรายใหญ่สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์เองได้แล้วก็ตาม แต่สุดท้ายสิ่งที่ ผู้ส่งออกรายใหญ่ในไทยต้องการเพื่อลดปริมาณในการรับซื้อยางเข้าก็ต้องเลือกเฉพาะวัตถุดิบที่มีคุณภาพมากที่สุดเป็นตัวเลือกอันดับแรก ผลสุดท้ายใครบ้างไม่ชอบของดีของสะอาดและมีคุณภาพบ้าง

2.ผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทยทั้งหลายได้เริ่มปลูกยางเองหรือทำต้นน้ำกันเองมากขึ้น ไม่ว่าการจะไปสัมประทานที่เพาะปลูกในกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น เพราะผู้ส่งออกรายใหญ่ของไทยตระหนักถือปัญหาต้นน้ำมานานแล้ว จึงเป็นรูปแบบกลุ่มทุนเหมือนที่เวียดนามและจีนทำกัน ข้อดีคือสามารถควบคุมคุณภาพวัตถุดิบตั้งแต่น้ำยางหยดแรกจากต้นยางจนไปถึงการขน ถ่าย เก็บ คัดสรร นำเข้าขบวนการผลิตเอง เพื่อมาตรฐานที่สูงขึ้นและสามารถผลิตคุณสมบัติยางได้หลากหลายเบอร์เฉกเช่นทางเวียดนาม มาเลยเซีย และจีน ทำกัน ส่วนการรับซื้อยางจากชาวบ้านทุกวันนี้นำไปทำยาง STR20 จะยังคงรับเรื่อยๆตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น แล้วประเด็นเดิมต้องเจอขั้นตอนการรับซื้อที่ยังไม่มีความชัดเจนที่ดีพอ การตี DRC ยังจำกัดกรอบในรูปแบบของความพึงพอใจของผู้ซื้อเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงเริ่มเป็นกลไกการค้าขายที่ทำให้ยากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ มีผลกระทบไปยัง เทรดเดอร์ พ่อค้าคนกลาง ยี่ปั๊ว และชาวสวนยางโดยตรง การสร้างวัฒนธรรมการซื้อขายแบบนี้คงหนีไม่พ้นวัฎจักรเดิมๆดังกล่าวได้เลย

3.เมื่อไม่เข้าใจคุณภาพหรือตลาดใหม่ๆในการทำยางคุณภาพแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นการพึ่งพาอาศัยโรงงานยางแท่งไม่จบไม่สิ้น และไม่มีอำนาจต่อรองใดๆขึ้นมา เมื่อไม่มีอำนาจต่อรองได้ก็ต้องทำตามข้อเสนอของผู้ซื้อ และผู้ที่ไปรับซื้อมาขายต่อ ก็ลงไปกดราคาทุกวิถีทางกับชาวสวนยางต่อกันเป็นทอดๆ 

4.การล้มหายตายจากของโรงงานยางแท่ง STR20 ทั่วๆไป เมื่อเกิดปัญหา Over Supply โรงงานเล็ก-ขนาดกลาง ถ้าไม่แข็งพอก็จะอยู่ไม่รอด ขนาดโรงงานยางแท่งของผู้ส่งออกรายใหญ่ยังต้องลดปริมาณในการรับซื้อเข้ามาผลิต STR20 น้อยลงตามออเดอร์ แต่ถ้ามีการตลาดแผนการขายที่ดีพอก็ยังคงสามารถพัฒนาการผลิตยางให้ดีขึ้นและส่งออกเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ส่งออกรายใหญ่ได้เช่นกัน สำหรับโรงงานยางแท่ง STR20 ที่ไลน์ระบบไม่สมบูรณ์แบบหรือขาดๆเกินๆ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิจัยยาง จะอยู่ยากขึ้น เพราะคุณสมบัติของยางแท่งจำเป็นต้องมีค่ามาตรฐานยืนยันทุกๆค่าให้ตรงตามเบอร์ยางที่ตีตราไว้และขนาดยางในการขนส่งก็สำคัญ Gross Weight,Net Weight เพราะเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง และนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าด้วย
รูปทรงการขึ้นพาเหรดเมื่อโหลดขึ้นตู้จะไ่ม่สามารถเข้าตู้ตามปริมาณที่กำหนด
ขนาดและน้ำหนักไม่ได้เป็นมาตรฐาน STR20 
การวางบนพาเหรดถ้าไม่บล็อกเหล็กรูปทรงยางจะล้ม






Hummer Mill 
โครงสร้างเตาอบที่ไม่ได้มาตรฐาน
เตาอบขนาดไม่สามารถอบยางได้สุกทั้งหมด











สวนยางพาราของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในกลุ่มประเทศ CLMV

     ตามที่เคยกล่าวไว้ ของบทความตอนต้นๆ เรื่องกลุ่มทุนชาวจีนสัมประทานที่ดินเพื่อการเพาะปลูกยางพารา เป็นข้อมูลจากประสบการณ์ที่เจอกับตนเอง และทราบเรื่องนี้มาตั้งแต่จีนเริ่มลงทุนปลูกยางตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมาและขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน จึงขออนุญาตนำบทความท่านนึงมาลงในบทความนี้ เพราะเป็นข้อมูลที่น่าสนใจและสอดคล้องกับข้อมูลทางผมอยู่บ้าง (คล้ายกันแต่วิเคราะห์ต่างกันเล็กน้อยโดยรวมเป็นทิศทางเหมือนกัน) เขียนบทความไว้ได้ดีมาก

     ผมขออนุญาตนำบทความคุณเกียรติศักดิ์มาอ้างอิงที่เคยเขียนไว้เมื่อปี 2556 นำมาเปรียบเทียบจากข้อมูลหน้างานที่ส่วนตัวได้ศึกษามาเพื่อหาจุดวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตว่า ทิศทางยางพาราในตลาดโลกจะเป็นไปในทิศทางไหน ได้มีประโยชน์เพื่อหาวิธีมาแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น ฉนั้นจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในบทความในบางจุดเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดมา ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณครับ

เครดิต : คุณเกียรติศักดิ์ คำสี
วันที่  :  30 ตุลาคม 2556

จีนเป็นผู้บริโภคยางพาราอันดับ 1 ของโลกและเป็นผู้นำเข้ายางพาราอันดับ 1 ของไทย โดยในช่วงที่ผ่านมา จีนได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV คำถามคือ การขยายพื้นที่ดังกล่าว จะทำให้จีนมีความต้องการนำเข้ายางพาราจากตลาดโลกและไทยลดลงหรือไม่ จากการวิเคราะห์ของ EIC พบว่า ผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าว ไม่น่าจะส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราของจีนปรับตัวลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า แต่อาจทำให้บทบาทของไทย ในการเป็น supplier หลักในตลาดโลกลดความสำคัญลง พร้อมทั้งยังทำให้ราคายางพาราในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นเหมือนในอดีต

***ส่วนตัวเห็นด้วยเพราะมีเหตุผลสอดคล้องความน่าจะเป็นจากข้อมูลจริง***

จีนเป็นผู้บริโภคยางพาราอันดับ 1 ของโลก โดยเกือบ 80 % เป็นการบริโภคยางพาราที่นำเข้าจากตลาดโลก การขยายตัวอย่างร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการบริโภคยางพาราของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2012 จีนมีปริมาณการบริโภคยางพาราจำนวน 3.9 ล้านตัน หรือคิดเป็น 35% ของการบริโภคยางพาราทั่วโลก ในขณะที่จีนมีผลผลิตยางพาราเพียง 0.79 ล้านตันหรือราว 21% ของความต้องการบริโภคยางพาราในประเทศ ทำให้ในแต่ละปี จีนต้องนำเข้ายางพาราเป็นจำนวนมาก โดยในปีที่ผ่านมามีการนำเข้ายางพารา 2.5 ล้านตัน หรือราว 32% ของการค้ายางพาราทั่วโลก
ความสามารถในการพึ่งพาผลผลิตในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้จีนมีนโยบายลงทุนขยายสวนยางพาราทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอุปทานให้อุตสาหกรรมของตน รัฐบาลจีนตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากขาดแคลนยางพาราในประเทศ จึงได้ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2005-2012 มีการขยายพื้นที่ปลูกราวปีละ 260,000 ไร่ ปัจจุบันจีนจึงมีพื้นที่ปลูกยางพาราราว 6.5 ล้านไร่ นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศออกไปลงทุนในต่างประเทศผ่านยุทธศาสตร์  "Going Global" เพื่อสร้างหลักประกันต่อการจัดหายางพาราให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ โดยจีนได้เข้าไปลงทุนในกัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม (CLMV) ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกยางพาราในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูง โดยในช่วงปี 2006-2012 พื้นที่ปลูกยางพาราในกลุ่ม CLMV เพิ่มขึ้นราวปีละ 1 ล้านไร่ (รูปที่ 1) ทำให้ในปัจจุบันกลุ่มประเทศดังกล่าวมีพื้นที่ปลูกยางพารารวมกันมากถึง 12.2 ล้านไร่ ใกล้เคียงกับไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราราว 14.7 ล้านไร่

***จากการทำยุทธศาสตร์ Going Global สอดคล้องกับข้อมูลเรื่องการนำเข้าในรูปแบบโควต้าภาษี 0% ให้เฉพาะผู้ประกอบการชาวจีนหรือกลุ่มทุนชาวจีน***

อย่างไรก็ตาม การขยายพื้นที่ปลูกยางพาราดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการนำเข้ายางพาราของจีนในตลาดโลกและจากไทย ในช่วงที่ผ่านมา การขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในประเทศของจีนทำได้ไม่มากนัก เพราะแม้ว่าจีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล แต่พื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสมกับการปลูกยางพารากลับมีค่อนข้างจำกัด ทำให้ผลผลิตยางพาราที่คาดว่าจะออกมาในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นราวปีละ 7% โดยจากข้อมูลของ International rubber study group (IRSG) พบว่าผลผลิตยางพาราของจีนในปี 2022 จะอยู่ที่ราว 1.5 ล้านตัน หรือคิดเป็น 21% ของความต้องการบริโภค ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อรวมผลผลิตยางพาราของกลุ่ม CLMV กับจีน ก็จะพบว่า ผลผลิตที่ได้ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของจีนอีกเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจีนจะมีความต้องการนำเข้ายางพาราจากตลาดโลกราว 3 ล้านตันในปี 2022 ซึ่งมากกว่าปี 2012 ที่มีความต้องการนำเข้าเพียง 2 ล้านตัน (รูปที่ 2) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราของจีนและกลุ่มประเทศ CLMV จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราของไทยไปจีนในช่วง 10 ปีข้างหน้า


***ณ ปัจจุบัน มีการคลาดเคลื่อนจากที่กล่าวมาแล้ว จากที่ไม่มีผลกระทบ 10 ปีหน้า (นับจาก 2012) คงจะกลายเป็นไม่กี่ปีข้างหน้านี้แทน***

แต่บทบาทของไทยในฐานะ supplier หลักในตลาดยางพาราโลกจะลดความสำคัญลง ขณะที่บทบาทของกลุ่มประเทศ CLMV จะมีมากขึ้น แม้ว่าการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราของจีนและกลุ่มประเทศ CLMV จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางพาราของไทย แต่การเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราของกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงปี 2006-2012 จะทำให้ผลผลิตยางพาราในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2013-2019 โดย IRSG คาดว่า ผลผลิตยางพาราของกลุ่ม CLMV จะเพิ่มขึ้นจาก 1.1 ล้านตันในปี 2012 เป็น 2.8 ล้านตันในปี 2022 ซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จะทำให้กลุ่ม CLMV มีส่วนแบ่งปริมาณผลผลิตยางพาราในโลกเพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2012 เป็น 17% ในปี 2022 ในขณะที่ไทยจะมีส่วนแบ่งปริมาณผลผลิตในโลกลดลง จาก 31% ในปี 2012 เป็น 24% ในปี 2022 (รูปที่ 3)

***การเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงปี 2006-2012 ยังไม่ส่งผลต่อการส่งออกยางไทย แต่จะส่งผลตั้งแต่ปี 2013-2019 ซึ่งเป็นช่วงผลกระทบวิกฤต Over Supply แล้ว แค่ปี 2014 ตอนนี้ก็เริ่มมองเห็นได้ชัดมากๆ จากการคาดการณ์เร็วๆนี้ ปลายปี 2015-2016 ก็มีผลกระทบเรื่องปริมาณที่ทะลุ 2.8 ล้านตันก่อนจะถึงปี 2022 แน่นอน เปอร์เซ็นต์ที่คาดการณ์ไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนถึงปี 2022 เช่นกัน จากสถานการณ์ยางในปัจจุบันก็พอคาดการณ์ได้ในระดับหนึ่ง***

ราคายางพาราในตลาดโลกจะไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มากเหมือนในอดีต อีกทั้งยังทำให้ภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบมีอิทธิพลต่อราคายางพาราเพิ่มขึ้น ปริมาณผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ในช่วง 1 ทศวรรษหน้า โลกจะต้องเผชิญกับภาวะผลผลิตยางพาราล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2013-2022 โลกจะมีผลผลิตส่วนเกินเฉลี่ยปีละ 162,000 ตัน แตกต่างจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่โลกประสบปัญหาการขาดแคลนยางพารา ซึ่งแม้ส่วนเกินดังกล่าวจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็จะเป็นตัวสร้างแรงกดดันให้ราคายางพาราไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับสูงเหมือนในอดีต (รูปที่ 4) นอกจากนั้น ในระยะต่อไป ปัจจัยที่กระทบต่อความต้องการบริโภคยางพาราโลก เช่น ภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันดิบ จะมีอิทธิพลต่อราคายางพาราโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหากเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะซบเซาหรือราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ก็จะส่งผลให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกปรับตัวลดลง ส่วนเกินผลผลิตยางพาราโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคายางพาราปรับตัวลดลง

***ราคายางพาราไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นได้มากเหมือนแต่ก่อนจริงๆเพราะจากผลผลิตส่วนเกินที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี ช่วง 2013-2019 อาจจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เมื่อผลผลิตส่วนเกินมากเพราะไม่สามารถส่งออกได้และจากการโดนแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปของกลุ่มประเทศ CLMV ก็จะทำให้ผลผลิตเกิด Over Supply เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่งผลทำให้ผู้ส่งออกรายใหญ่ก็ต้องลดปริมาณในการรับซื้อวัตถุดิบเข้ามา ผลผลิตจึงลดลงตามไปด้วย สุดท้ายผลกระทบตกอยู่ที่ใครบ้างคงจะทราบกันดีครับ***

รูปที่ 1: จีนและกลุ่มประเทศ CLMV ขยายพื้นที่ปลูกยางพาราค่อนข้างมากในช่วงปี 2005-2012
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IRSG



รูปที่ 2 : จีนยังคงต้องพึ่งพิงการนำเข้ายางพาราจากตลาดโลกและไทย แม้จะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราในช่วงที่ผ่านมา
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IRSG 


รูปที่ 3 : บทบาทการเป็น supplier ยางพาราที่สำคัญของไทยในตลาดโลกปรับตัวลดลง
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IRSG 


รูปที่ 4 : โลกจะต้องเผชิญกับภาวะผลผลิตยางพาราล้นตลาดในช่วง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะกดดันให้ราคายางพาราไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นเหมือนในอดีต

ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ IRSG และสถาบันวิจัยยาง


- เกษตรกรชาวสวนยางจะต้องปรับตัว เพื่อที่จะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากการขยายพื้นที่กรีดยางพาราในประเทศ CLMV แรงงานกรีดยางในภาคใต้จำนวนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่มาจากประเทศ CLMV โดยในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า พื้นที่กรีดยางในประเทศดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นราว 2.6 ล้านไร่ ซึ่งจะทำให้ความต้องการแรงงานเพื่อกรีดยางในกลุ่มประเทศดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่า แรงงานต่างด้าวที่มีทักษะในการกรีดยาง อาจจะกลับไปในประเทศของตน ซึ่งจะทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของชาวสวนยางปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาแรงงานไว้ เกษตรกรอาจจะต้องปรับสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ให้แรงงานกรีดยางเพิ่มขึ้น

- ไทยจะต้องเผชิญการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้น ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจโลกและจีนตกต่ำ การที่ผลผลิตในกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น ทำให้จีนมีทางเลือกในการนำเข้ายางพาราเพิ่มขึ้น หากความต้องการบริโภคยางพาราในจีนปรับตัวลดลง จีนก็มีแนวโน้มที่จะหันไปนำเข้ายางพาราจากประเทศในกลุ่ม CLMV และลดการนำเข้าจากไทย เพราะราคายางพาราไทยแพงกว่าราคาในกลุ่มประเทศดังกล่าว  ดังนั้น ในระยะต่อไป ไทยจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันด้านราคา ปัจจุบันผลผลิตยางพาราของไทยอยู่ที่ 262 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าเวียดนามที่มีผลผลิตอยู่ที่ 275 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไทยสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ หากมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตต่อต้นเพิ่มขึ้น

     สรุปบทความข้างบนเป็นข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงการวิเคราะห์จากระยะเวลา 10 ปี กลายเป็นระยะเวลา 2-5 ปีนี้แทน เพราะสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งตลาดหุ้นยางเซี่ยงไฮ้ สต๊อกยางจีน นโยบายรัฐบาล และอื่นๆ เป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดวิกฤตรอบใหม่เร็วขึ้น เราจะอยู่อย่างไรในวงการยางพารา หลายฝ่ายก็มีแนวทางดิ้นรนฝ่าฟันด้วยตัวเอง เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น สุดท้ายนี้ขออวยพร ให้ท่านทั้งหลายมีความเจริญก้าวหน้า และประสบความสำเร็จโดยเร็วพลัน ขอขอบคุณที่เสียสละเวลาอ่านจนจบครับ

     หมายเหตุ บทความนี้ทำขึ้นจากการวิเคราะห์ตามแหล่งข้อมูลจริงที่ได้ทำงานผ่านในกลุ่มประเทศ CLMV มาและทำตลาดส่งออกไปที่ประเทศจีน เป็นข้อมูลจากประสบการณ์ที่เก็บเล็กเก็บน้อย ตั้งแต่ปี 2007-ปัจจุบัน เพราะจากสถานการณ์ยางพาราทุกวันนี้มีผลทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมา


ผู้แชร์ประสบการณ์

บริษัท เอ็น โอเค พลัส จำกัด

โดย นายธนากร พลแดง

Tel : 0803883029

Line ID : nokrubberland

e-mail : marketing.nokplus@gmail.com

Facebook : www.facebook.com/noel.kaham