เครพขาว
หลายๆคนอาจจะรู้จักเครพขาว เป็นอย่างดีแล้ว เพราะก่อนจะมีเครพน้ำตาลที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยทุกวันนี้ ได้มีวัตถุดิบประเภทเครพขาวมาก่อนนานแล้ว แต่ความต้องการของตลาดน้อยมากและนำไปทำอย่างอื่นแทนจึงไม่เป็นที่นิยมผลิตกัน เพราะอย่างที่ทราบกันดีเครพขาวผลิตมาจากน้ำยางสด หรือ ยางเต้าหู้ มาเข้าเครื่องเครพรีดออกมาเป็นแผ่น เหมือนเครพทั่วๆไปทุกประการ สุดท้ายยางเอาไปผลิตเป็นยางแท่งอะไรบ้าง เดี๋ยวผมยกตัวอย่างให้ดูแบบง่ายๆ
ยางก้อนถ้วย -------> ยางเครพน้ำตาล-------> ยางแท่ง STR20
|
ยางก้อนถ้วย |
|
ยางแผ่นเครพน้ำตาล |
ยางแท่ง STR20
|
นำภาพถ่ายยางแท่งจากโรงงานที่จีนมาก่อนสีใกล้เคียงกัน ตามจริงจะคล้ำกว่านี้ |
น้ำยางสด,ยางเต้าหู้ -------> ยางเครพขาว-------> ยางแท่ง STR5
|
น้ำยางสด
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต) |
|
ยางแผ่นเครพขาว
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต) |
ยางแท่ง STR5L,STR5
|
ในรูปคือ STR5L (ทำจากน้ำยางสดโดยตรง) ถ้าทำจากยางเครพขาวจะเป็น STR5 สีคล้ำลงไปนิดหน่อย (ภาพจากอินเตอร์เน็ต) |
ปัจจุบันนี้โรงงานยางแท่งในประเทศไทย จะเป็นโรงงานที่ผลิตยางแท่ง STR20 กันเป็นส่วนใหญ่จึงมีความต้องการรับซื้อยางก้อนถ้วย และยางเครพน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้ชาวสวนยางที่เปิดกรีดใหม่ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ นิยมผลิตยางก้อนถ้วยขึ้นมา เพราะกำลังการซื้อยางจากโรงงานผลิตยางแท่งในไทยมีกำลังที่สามารถซื้อในปริมาณที่สูงได้เนื่องจากราคาที่ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับยางวัตถุดิบชนิดอื่นๆ ถ้าเรามองย้อนไปถึงสมัยก่อนชาวสวนยางส่วนใหญ่จะเริ่มต้นผลิตด้วยการทำยางแผ่นดิบ USS ยางแผ่นรมควัน RSS แต่เนื่องจากตลาดรับซื้อยางประเภทนี้เริ่มมีออเดอร์ส่งออกน้อยลงเรื่อยๆ บวกกับปริมาณยางภายในไทยสูงขึ้นทุกปี ทำให้การรับซื้อยางแผ่นดิบ แผ่นรมควัน ก็น้อยตามไปด้วย ปัจจุบันตลาดส่งออกที่รับซื้อยางแผ่นรมควันที่นิยมและได้ราคาดีๆก็จะเป็น ญึ่ปุ่น เกาหลี และจีน อีกทั้งการผลิตยางแผ่น USS RSS ต้องใช้ฝีมือพอสมควรในการผลิต เช่น ความสวยของแผ่น ความสะอาด ขนาดที่ได้มาตรฐาน และการอบรมควัน ก็ต้องใช้ความสามารถสูง ชาวสวนยางใหม่ๆยุคสมัยนี้จึงโฟกัสไปที่ยางก้อนถ้วยขายให้กับโรงงานยางแท่ง STR20 เป็นหลัก ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงงานผลิตยางแท่ง ย่อมเปิดการรับซื้อยางได้ไม่จำกัดจำนวนมีเท่าไหร่เอาหมด เพราะยางแท่งเบอร์ STR20 ก็เป็นยางที่ผู้ใช้ยางรายใหญ่ที่สุดในโลก คือ ประเทศจีน มีความต้องการสูงมาก จึงเกิดโรงงานยางแท่ง STR20 ขึ้นเยอะแยะในหลายๆปีที่ผ่านมา มีทั้งโรงงานยางแท่งที่ได้มาตรฐาน และขาดมาตรฐานหลายๆอย่างก็มี จึงทำให้ชาวสวนยางที่ผลิตยาง USS RSS หันมาผลิตยางก้อนถ้วยส่งเข้าโรงงานมากขึ้นทุกปีๆ
เนื่องจากความง่ายในการทำยางก้อนถ้วย ผู้ส่งขายยางก้อนถ้วยก็ส่งขายไปตีเปอร์เซ็นต์ตามมีดที่กรีด วันที่ค้างคืน (ง่ายๆคือตีด้วยสายตา) ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้าคนกลางเข้าซื้อนำไปส่งขายต่อที่โรงงานยางแท่งอีกที ทำให้การตีเปอร์เซ็นต์ในการซื้อจากชาวสวนยางไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้น เพราะตีเปอร์เซ็นต์จากสายตา ไม่มีห้องแล็บวิจัยค่า DRC ถึงแม้ว่าจะมีห้องแล็บก็สุ่มยางก้อนถ้วยไม่กี่ก้อนมาแล็บหาค่า DRC ก็ใช่ว่าจะแม่นทั้งหมดเพราะไม่ได้เช็คยางทั้งกองทั้งคันรถ ยกเว้นโรงงานยางแท่งไหน ยินยอมให้ขึ้นไลน์ผลิตออกมาเป็นยางแท่งทั้งหมดนั้นคือค่า DRC ที่แม่นยำที่สุด จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากยางก้อนถ้วยได้พัฒนาแปรรูปมาเป็นยางแผ่นเครพนั้นเอง ทำให้การคำนวณค่า DRC ง่ายขึ้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ตัวอย่างการสุ่มยางหาค่า DRC
ยางก้อนถ้วยที่สุ่มมาจากยางทั้งกอง เลือก แห้ง กลาง เปียก เพื่อหาค่าเฉลี่ย DRC
ยางแผ่นเครพทั้งแห้งทั้งเปียกนำชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจสอบหาค่า DRC
|
นำยางก้อนถ้วยออกไปรีดเครื่องเครพ แล้วนำมาเข้าเครื่องรีดร้อนเพื่อบดระเหยความชื้นให้มากที่สุด ส่วนยางแผ่นเครพสามารถเข้าเครื่องรีดร้อนได้ทันทีเลย จนยางไล่ความชื้นออกให้มากที่สุด |
หลังจากรีดร้อนให้แผ่นฉีกออกเป็นแผ่นบางๆ มากให้ที่สุด แล้วนำเข้าเตาอบ ออกจากเตาจากรูปด้านขวาบนยางยังสุกไม่หมดยังมีคราบความชื้นที่เป็นสีขาวๆ ปนอยู่ ต้องนำเข้าเตาอบต่อจำยางสุกทั้งหมด
ตัวอย่างยางที่อบจากเตาสุกทั้งหมดแล้ว นำมาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบจากน้ำหนักยางก่อนเข้าแล็บ
จากขั้นตอนแล็บเพื่อตรวจหาค่า DRC ถ้ายางเหมือนกันทั้งกองหรือทั้งคันรถที่มาส่งก็ถือว่าการแล็บในครั้งนี้แม่นยำ แต่เป็นไปไม่ได้ที่ยางก้อนถ้วย รวมไปถึงยางแผ่นเครพจะมีความชื้นที่เท่ากันและสม่ำเสมอทั้งหมด จากการแล็บแค่ 2-5 กิโลกรัมนี้ทราบค่า DRC ได้แม่นยำแต่จะไปรวมว่ายางก้อนถ้วยและยางแผ่นเครพทั้งหมดจะออกมาเหมือนกัน โดยจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียนได้ลองสุ่มตัวอย่างมาทั้งหมด 5 ชุด แต่ละชุดค่า DRC ไม่ตรงกันและบางชุดไม่เฉียดเปอร์เซ็นต์ไล่ๆกันเลย จึงสรุปได้ว่าเป็นการตรวจสอบหาค่า DRC ที่ไม่แม่นยำเลย ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งจะได้เปรียบไม่ก็เสียเปรียบไปเลย แล้วการทำการค้าในระยะยาวๆก็คงไม่เกิด เพราะเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้วถึง 2 โรงงานใหญ่
ทีนี้มาพูดถึงยางแท่ง STR5 บ้าง โรงงานที่ผลิตยางแท่งใหญ่ๆจะมีไลน์ผลิตยางทั้ง STR20 กับ STR5 ด้วยจะเป็นโรงงานยางแท่งที่มีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งถามว่าทางโรงงานยางแท่งนี้รับซื้อน้ำยางสด หรือเครพขาว หรือป่าว คำตอบคือ รับซื้อ แต่เป็นปริมาณที่น้อยมาก จะมีการสั่งซื้อเข้ามาผลิตเป็นยาง STR5L STR5 ก็ต่อเมื่อทางโรงงานมีออเดอร์การสั่งซื้อจากลูกค้าเท่านั้น จึงจะซื้อเข้ามาผลิต แต่โรงงานยางแท่งระดับนี้ส่วนใหญ่ในยุคนี้จะมีสวนยางเป็นของตัวเองบ้างแล้ว จึงไม่นิยมที่จะรับซื้อจากภายนอกเข้ามาอีก (ผมคงไม่ต้องยกตัวอย่างโรงงานไหนบ้างเพราะรู้ๆกันอยู่) จึงเป็นที่มาของคำว่าตลาดยางเครพขาวแคบนี้เอง และประการสำคัญทั้งปวงทำไมน้ำยางสดจึงไม่เป็นที่นิยมนำมาทำเครพขาว ต้องขออธิบายว่า ยางพารา หรือ Natural Rubber ยางธรรมชาติ ไม่ใช่มีแต่ ยางแท่ง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน แต่ยังมียางอีกประเภทเกิดขึ้นมา คือ น้ำยางข้น ที่มีความต้องการในตลาดมากเช่นกันจึงทำให้น้ำยางสดในบ้านเราหันไปผลิตเป็นน้ำยางข้น 60% ซึ่งเอาไปแปรรูปเป็น ถุงมือทางการแพทย์ ถุงยางอนามัย จุกนมยาง และอื่นๆ อีกมากมาย แต่>>>>>น้ำยางสดที่นำมาผลิตเป็นน้ำยางข้น 60% ต้องมีน้ำยางสดที่ได้มาตรฐานซึ่งนั้นก็หมายถึง พันธุ์ยางที่ปลูก อายุต้นยางที่เปิดกรีดต้องไม่น้อยกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือ ต้นยางพาราที่เริ่มเปิดกรีดปีที่ 1 จนถึง ปีที่ 5 ยังไม่สามารถนำมาผลิตน้ำยางข้น 60% ได้มาตรฐานนั่นเอง แต่ก็ถือว่าโรงงานน้ำยางข้น 60% ก็ถือว่าเป็นในวงการยางที่ตอนนี้เริ่มแพร่หลายตั้งแต่ภาคใต้บ้านเราเป็นที่แรก (ซึ่งก็หลายปีแล้ว) เพราะได้แรงอิทธิพลตลาดรับซื้อน้ำยางข้นมาจากมาเลเซียนั่นเอง และนี้ก็เป็น 1 ในอนาคตของวงการยางพารา จากยางแผ่นสู่----->ก้อนถ้วย----->เครพน้ำตาล----->เครพขาว----->น้ำยางข้น
จากข้อมูลข้างบนได้อธิบายเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของยางพารามาเป็นลำดับ แต่ที่สำคัญอื่นใดก็คือ ช่วงระยะเวลาไหนควรจำเป็นผลิตยางชนิดไหน ตลาดส่งขายแบบไหนที่คุ้มต่อการลงทุน และช่วงไหนตลาดโลกมีความต้องการยางอะไรมากน้อยเพียงใด จึงเป็นเรื่องของการตัดสินใจในการเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตยางไปตามตลาดโลกนั่นเอง
ผมได้คาดการณ์จากแนวทางการทำตลาดของตนเองที่ประเทศจีนมาซักระยะหนึ่งแล้ว เรื่องน้ำยางข้นจึงตัดออกไปเลย เพราะทางจีนยังมีความต้องการยางประเภทนี้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางข้นต้องนำเข้ามาจีนเสียมากกว่า แต่ตลาดยางพาราในจีน จะเน้นรับซื้อไปประเภทยางแท่งเบอร์ต่างๆ ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และยางวัตถุดิบประเภทยางเครพน้ำตาล ยางเครพขาว เป็นต้น จึงได้นำมาเสนอราคา ตลาดรับซื้อยางในประเทศจีนมาเปิดเผยให้รู้ว่า เราสมควรที่จะทำยางอะไรต่อกันดี ในเมื่อ ยางเครพน้ำตาลกำไรไม่ต่างอะไรกับขายยางก้อนถ้วย ยางแท่งเบอร์ STR20 ราคาในตลาดโลกตกต่ำลงไปมาก ก็เลยทำให้เป็นผลพ่วงราคายางวัตถุดิบ ยางก้อนถ้วยและเครพน้ำตาล ตกต่ำตามไปด้วย
ผมจะยกตัวอย่างราคายางแท่งจากรูปภาพ จะมีราคายางแท่งของประเทศเพื่อนบ้านเราด้วยจะเห็นได้ว่าราคายางแท่ง STR20 บ้านเราแพงที่สุดและแพงกว่ามาเลเซียเสียด้วย
ราคารับซื้อยางที่จีนเซี่ยงไฮ้ CIF ท่าเรือชิงเต่า (ราคานี้ไม่ได้เสียภาษีนำเข้าเอง) ราคาเป็น USD
จากตารางราคายางตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม - วันที่ 20 มิถุนายน 2014 จะมีการสั่งซื้อยางเข้าของรัฐบาลจีนจากหลายประเทศ ได้แก่ STR20 (ไทย) SMR20 (มาเลย์) SIR20 (อินโด) SVR3L (เวียดนาม) RSS3 (ยางแผ่นรมควันคุณภาพชั้น 3) จะเห็นได้ว่าราคายางไทยจะสูงที่สุดในนี้ ส่วนของเวียดนามไม่มียางเบอร์ SVR20 จะมีต่ำสุดคือ SVR10 เท่านั้น แต่ความต้องการของโรงงานรัฐบาลจีนตอนนี้ที่ต้องการมีแค่ 5 รหัส ณ ตอนนี้
ยกตัวอย่างราคา STR20 ล่าสุด วันที่ 20 มิถุนายน 2014 ราคาคือ 1,775 USD/Ton
Exchange Rate 1 USD = 32.478 บาท
ราคารับซื้อ CIF ท่าเรือชิงเต่า = 1,775 ดอลล่าร์ = 57,648 บาท = 57.64 บาท/กิโลกรัม
ราคาส่ง FOB ท่าเรือกรุงเทพ = 55.41 บาท/กิโลกรัม
ราคายางก้อนถ้วย 100% วันที่ 20 มิถุนายน = 51 บาท/กิโลกรัม
ฉนั้นเมื่อนำมาหักลบจะมีส่วนต่างอยู่ที่ 6.64 บาท/กิโลกรัม ซึ่งยังไม่ใช่กำไรสุทธิยังต้องนำมาหักค่าใช้จ่าย เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้าผลิตยางแท่ง ค่าขนส่งรถ ขนส่งเรือ ประกันภัย ค่าCess คงเป็นไปได้ยากที่จะมีกำไรเหลือ นอกเสียจากทางโรงงานยางแท่ง STR20 ไม่ได้ให้ราคายาง 100% ที่แท้จริงเท่าที่ประกาศในเว็บไซด์ ก็สารพัดเทคนิคที่ขุดกันขึ้นมาเรื่องกดค่า DRC นี้แหละครับ จึงทำให้มีกำไรเหลือพอที่จะส่งไปขายถึง CIF ได้ ถึงแม้จะส่ง FOB กทม. ก็ยังมีค่าไฟฟ้า แรงงาน ขนส่งรถไปท่าเรืออีก จึงไม่มีทางที่โรงงานยางแท่งจะรับซื้อยาง 100% ตามที่คาดไว้
แต่ไม่ใช่ไม่มองถึงราคาขายตลาดล่วงหน้านะครับ ถ้าส่งแบบขายล่วงหน้า 1 เดือนขึ้นไป ก็สามารถทำได้ครับ แต่โรงงานดังกล่าวต้องมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับลูกค้าโดยตรง และส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานใหญ่ระดับมาตรฐานสากล เท่านั้นที่ทำการตลาดขายกันอยู่ทุกวันนี้ ตามออเดอร์ที่ทางจีนสั่ง ฉนั้นจะต้องมีโรงงานยางแท่งในไทยที่เป็นโรงงานเล็กๆทำขายต่อให้โรงงานใหญ่ หรือทำส่งออกเองแต่ราคาขายไปจีนก็ไม่สูงนักถ้าเทียบกับโรงงานใหญ่ๆ จากข้อมูลนี้ ถ้าถอยออกมามองภาพรวมๆ แล้วชาวสวนยาง พ่อค้าคนกลางทั่วไป และโรงงานผลิตเครพเล็กๆ จะเป็นผู้รับความเสี่ยงไว้แต่เพียงผู้เดียว เพราะโรงงานยางแท่งจะขาดพ่อค้าคนกลางบางรายไม่ได้ ยังต้องอาศัยปริมาณป้อนยางเข้าโรงงานและมีผลประโยชน์เอื้อต่อกันเสมอ จึงเป็นความได้เปรียบผู้ซื้อ แต่เสียเปรียบคือผู้ขายนั้นเอง
|
ข้อมูลราคาขายของยางแท่งเบอร์ต่างๆปริมาณและราคาเป็นเงินหยวนต่อตัน ของโรงงานรัฐบาลจีนให้กับ บริจสโตน ฮันกุ๊ก โยโกฮาม่า เป็นต้น |
มาถึงเป้าหมายหลัก ของผู้เขียนบทความนั่นก็คือการผลิตยางเครพขาว จากข้อความข้างบนไม่จำเป็นต้องไปหาตลาดขายให้เมื่อยตุ้ม หรือถ้ามีตลาดเองก็ยินดีด้วยครับ แต่ก่อนอื่นตอนนี้ทุกพื้นที่ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคกลางตอนบน และภาคเหนือ จะเป็นการผลิตยางก้อนถ้วยเป็นส่วนใหญ่ คงต้องอาศัย พาวเวอร์ เส้นสาย หรือสวนยางส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงรับซื้อยาง จากยางก้อนถ้วยทยอยมาเป็นน้ำยางสดแทน เพราะการหาค่า DRC จากน้ำยางสดแม่นยำ และง่ายกว่าการซื้อขายยางก้อนถ้วย ชาวสวนยางก็จะได้ขายยางจากต้นยางของตนเองคุ้มค่ากับที่เหนื่อยปลูก เหนื่อยกรีดยางมา และผู้ซื้อก็จะได้สบายใจในการซื้อว่าไม่โดนยัดไส้หรือตีเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดทำให้ขาดทุนย่อยยับเช่นกัน การรับซื้อน้ำยางสดสามารถศึกษาได้จาก google ได้ครับ หรือว่างๆไปดูงานรับซื้อน้ำยางที่หาดใหญ่ ภาคใต้บ้านเรานี้เองก็ได้ (ผมแนะนำได้)
การรับซื้อน้ำยางสด รับซื้อทุกวันจ่ายเงินทุกวัน ส่วนผู้ขายกรีดยางทุกวันรับเงินทุกวันเช่นกัน และไม่ต้องกลัวว่าจะได้กำไรน้อยกว่าขายยางก้อนถ้วยไม่มีทางแน่นอน เพราะคุณได้ขาย DRC ของคุณตามความจริง ตามพันธุ์ยางที่คุณปลูกมานั่นเอง โดยตามหลักของน้ำยางสดแล้ว จะมีค่า DRC อยู่ในเกณฑ์ 28%-33% แล้วแต่สายพันธุ์ยางและจำนวนปีที่กรีด (รวมถึงปุ๋ยด้วยนะครับ) แต่เราจะไม่เดากันอีกต่อไปเหมือนการซื้อ-ขายยางก้อนถ้วยกัน เอาเข้าเตาอบไมโครเวฟเลย 1-2 นาทีทราบผลทันทีว่าได้กี่เปอร์เซ็นต์นำมาคูณกับราคายาง 100% ที่รับซื้อวันนั้นทันที ยุติธรรมกันทั้งสองฝ่าย ผู้รับซื้อนำมาผลิตเป็นเครพขาวสามารถคำนวณต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ราคาขายปลายทางที่แน่นอน ความเสี่ยงในการลงทุนก็จะน้อยตามไปด้วย
มาถึงหัวใจสำคัญของโครงการผลิตยางแผ่นเครพขาวกันแล้ว นั้นก็คือตลาดส่งขายสำหรับผู้ที่ยังไม่มีตลาดส่ง การริเริ่มในครั้งแรกเป็นอะไรที่ยากมากสำหรับผู้จะลงทุน เพราะการทำยางเครพขาวก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจให้ดีๆว่า การขายยางส่งออกไปต่างประเทศมันจะต้องมีการเปิด LC ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายประเภทนี้ ต้องเป็นสินค้าที่พร้อมนำไปผลิตแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยางล้อรถ เลยจึงสามารถทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวได้ แต่ยางแผ่นเครพขาวนี้จัดอยู่ในกลุ่มยางวัตถุดิบนำไปเข้าขั้นตอนผลิตเพิ่มเติมเป็นยางแท่ง ฉนั้นการทำตลาดส่งออกยางประเภทวัตถุดิบ หรือเครพขาวนี้ จึงเป็นการส่งไปขายยังโรงงานยางแท่งเหมือนๆกับส่งยางภายในประเทศนั้นเอง แต่แตกต่างตรงที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศเองโดยตรง โดยยึดถือหลักสัญญาซื้อขายประเภทวัตถุดิบของบริษัทเราเป็นหลัก ในสัญญาระบุรับซื้อยางจากบริษัท N OK PLUS ทุกครั้งที่นำเข้าโรงงานรัฐบาลจีน ไม่มีตีกลับหรือราคาตกลงเมื่อล็อคราคาขายแล้ว จะยึดถือราคาสูงสุดให้กับลูกค้าที่ทำสัญญากับโรงงานเป็นอันดับแรก ถ้าผิดข้อตกลงดังกล่าวทางเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายในการนำยางไปส่งได้ทุกๆกรณี
ทางบริษัทเรากำลังมองหานายทุนเพียง 1 รายเท่านั้น ที่สามารถทำโครงการผลิตยางเครพขาว ส่งออกไปขายรายแรก หรือรายเดียวในประเทศไทย โดยการให้ทางบริษัทเราเป็นฝ่ายการตลาดขายให้ รวมไปถึงให้คำปรึกษาการทำงาน ตั้งแต่ต้นจนจบขายปลายทาง โดยการส่งออกในปริมาณขั้นต่ำ 100 ตัน ต่อการส่งขาย 1 รอบ ซึ่งเป้าหมายเบี้องต้นคือ 500 ตันต่อเดือน จากปริมาณดังกล่าวใช้เงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบค่อนข้างสูงมาก ซึ่งต้องอาศัยผู้มีทุนทรัพย์เยอะ ที่สำคัญต้องสนใจอย่างจริงจัง มาร่วมผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จและเป็นมาตรฐานการส่งออกยางประเภทวัตถุดิบกัน ทางบริษัทเราพร้อมทำสัญญาการเป็นฝ่ายการตลาดให้กับนายทุนอย่างสุดความสามารถ
สำหรับรายย่อยที่จะร่วมโครงการนี้กับทางบริษัทเรา ก็สามารถทำได้เช่นกัน รวมหลายๆเจ้าก็เป็นปริมาณที่สูงพอควรในการส่งออกได้ ในครั้งแรกต่อให้ได้ปริมาณขั้นต่ำที่ 30 ตันก็สามารถส่งออกไปขายได้กำไรเช่นกัน ไม่ปิดกั้นและไม่มองข้ามสำหรับผู้สนใจแต่ทุนทรัพย์น้อย ยินดีที่จะร่วมโครงการนี้ทุกคนครับ
รูปบรรยายกาศการทำงานเมื่อปี 2013@โรงงานรัฐบาลจีน
|
ทางเข้าโรงงานเห็นข้างในน่ามีสนามเตะบอล |
|
หลังโรงงานผลิตช่องเก็บยางของใครของมัน |
เก็บรายละเอียดยางตกหล่นทุกจุดก่อนเปลี่ยนผลิตยางของลูกค้ารายอื่น
|
กะบะใส่ยางก่อนเข้าอบซีกยางก้อนยางเครพ |
|
ด้านหลังเตาอบสองเตาใหญ่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง |
เตาอบอีกซีกสำหรับยางแท่งผลิตจากน้ำยางสด
|
รางเทน้ำยางสดเพื่อใส่กรดจับให้แข็งตัว |
|
ทีมงานนั่งกลุ้มใจกับเชือกฟางที่สั่งห้ามมีเด็ดขาด |
|
ปัญหาไม่ใช่แค่เชือกฟางยางอบอยู่ในผ้าใบคลุมกระบะเป็นเวลานานยางเหนียวติดกันเป็นตังเม |
|
โชคดีมีฝนช่วยทำให้ยางเอาลงง่ายขึ้นนิดหน่อย |
|
กลายเป็นพ่อบ้านเก็บเชือกฟาง ^ ^ |
|
เอายางลงกะบะเตรียมเข้าเตาอบ |
|
พี่ช้างยืนดูพนักงานเก็บเศษเชือกฟาง อย่างหล่อ |
|
ยางกองนี้ส่งมาได้ยังงัยโคตรเน่าเลย |
|
ยางเต้าหู้โดนรถเหยียบ คงไม่อยากเสียค่าบรรทุกแพงเลยเหยียบมาก่อน อิอิ |
|
ยางสารพัดแหล่งที่มา แยกออกจากกันชัดเจน |
|
ยางแห้งกับยางเปียกสุดท้ายได้ TSR20 เหมือนกัน |
|
ความมหึมา Slab Cutter หยาบ เครื่องนี้ใหญ่จริงๆเห็นฟันสับแล้วคนหลุดเข้าไปมีหวังไม่เหลือ |
|
พนักงานไม่เคยเจอยางแถวร้อนชื้นมันเหนียวอีหลี |
|
นั่งรอนั่งนับกะบะแรกๆที่มากลัวกะบะยางหาย 555 |
|
กะที่ 3 เที่ยงคืนไปแล้ว ยังขยันนั่งรอสถิติที่ทำไว้ 48 ชม.ไม่หลับไม่นอน |
|
ยางเครพเราเอามาทดสอบเข้าเครื่องดายน์ |
|
ยางกองไกลๆนู่น ยางสัญชาติลาว คั่กๆ |
|
เข้าสู่กะเช้า วนมากะที่ 1 เป็นเวลาอยากกินโจ๊ก ปาท่องโก๋มาก หากินยากมั่กๆ |
|
เจอพิษสงยางเหนียวๆจากลาวขอข้ามเครื่องสกรูเลย 55 |
|
ยางไม่กี่ก้อนหลังจากอบแล้วทำไมมันเหนียวจั่งซี่ |
|
อันนี้ชอบที่ซู้ดงานแรกจบ รีบเก็บเงินสดเลย อยากจะรู้ว่าโรงงานรัฐมีเงินสดอ่ะป่าว |
|
นี่งัยเชือกฟางตัวปัญหาเกือบโดนหักเงิน แทบกราบเลย |
|
ไลน์ผลิตแถวที่ 1 ยังมีข้างๆอีกแถวนะผลิตโคตรไวเลย |
|
รถบรรทุกยางเครพจอดรอแถวชายแดน กลุ่มรถคนจีนขับ |
|
นี่ก็เตรียมเข้าจีน กลุ่มรถคนลาวไม่ถูกกันด้วย |
|
นี่อีก2คันกำลังโหลดขึ้น พวกเดียวกันกับคันแรก |
|
ต้องจอดรอหน้าโรงงานที่ลงยางเต็ม กลุ่มรถจีน-ลาว แย่งกันลงของ - - |
|
เดินหาที่ลงของนี่งัยช่องนึง ทำไมไม่ให้ลง |
|
สรุปรถคนจีนมันได้ลงก่อนเพราะมันคือเจ้าถิ่น 555 |
|
เจ๊หมวยคนนี้หน้าที่คือชั่งน้ำหนักทั้งวันทั้งคืน |
|
ใบเสร็จโอนเงินล้านกว่าหยวนหายไปกรูตายสถานเดียว |
|
เช็คยอดเงินเข้าบัญชีของอีกบริษัทอันนี้เข้าตรงเป๊ะ |
|
ต้องจ้างโดยเฉพาะมาผ่ายางเอาเชือกฟางนรกออก - - |
|
นี่งัยลุงหมอนเอ็กซิมบอกแล้วว่าไม่ต้องมัดเชือกฟางมา |
|
นี้ผมเองแรกๆคิดว่าไม่เท่าไหร่แกะซะหน้าดำเลย 555 |
|
นี่ล่ามแปลภาษาจีนเป็นลาวมีน้ำใจลงช่วยด้วยแต่ค่าจ้างเท่าเดิมเห็นมันบ่นๆ |
|
ไม่ใช่งานหมูๆแล้วมันเหนียวได้ใจดีจริงๆ |
|
หมดปัญญาเอาลงต้องใช้โฟร์คลิฟท์ขึ้นเคลียร์ |
|
ตะขอเกียวลงทุนออกไปสั่งทำเลยนั่นหน่ะ |
|
กองนี้เสร็จแล้วภูมิใจในตัวเองและทีมงานสำเร็จซักที |
|
ยางอบไม่สุกต้องเข้าเครื่องดายน์ให้มันสุกอีกที |
|
ยางเหนียวๆจากลาวมาถึงช่วงสุดท้ายเจออุดตันเข้าให้ |
|
ช่างเครื่องเอายางออกมายาวเป็นงูเลื่อยเลยเก่งจริงๆ |
|
หาวิธีแก้ไขและจะได้ไม่ต้องแกะเอาพลาสติกปูหัวดีนะนี่ |
|
เปิดบัญชีในจีนโอนแบงค์กิ้งให้ทางบริษัทได้เลย |
|
ใบจดน้ำหนักหลังอบแล้วขึ้นชั่งนี้แหละเนื้อยางชัวร์ๆ
|
สุดท้ายนี้ ทางเรายินดีพาผู้ที่สนใจเดินทางศึกษางานถึงสถานที่จริง ก่อนการตัดสินใจในการลงทุน ตั้งแต่ตัวอย่างโรงงานผลิตยางเครพที่เวียงจันทน์ การรับซื้อยาง การผลิตยางให้ได้คุณภาพ การแนะนำเครื่องจักรกลที่มีมาตรฐาน การขนส่ง การเสียภาษีอากร เอกสารส่งออก การนำยางเข้าจีน ค่าโควต้านำเข้าจีน จนถึงปลายทางตลาดที่ขายเข้าโรงงาน ทุกขั้นตอน อยากทราบรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ อีกติดต่อมาได้ที่.....
สามารถติดตามประวัติการทำงานบริษัทและราคาตลาดเซี่ยงไฮ้ SHFE ได้ที่ Facebook
www.facebook.com/noel.kaham
ผู้แชร์ประสบการณ์จริง
N OK PLUS CO.,LTD.
Tel : 080 3883029
Line ID : nokrubberland
email : marketing.nokplus@gmail.com
email : oatrmx@hotmail.com